วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๕ ภาพจากบ้านแม่ เชิงแสศึกษา

บทที่  ๑๕  " ภาพจากบ้านแม่  เชิงแสศึกษา "

             ขณะนี้ผมกลับจากงานพระราชทานเพลิงศพพระครูวิสุทธิศีลประยุติ (ตาหลวงสงวน ) แล้ว ได้ภาพต่างๆ ของบ้านเชิงแสมาหลายภาพทีเดียว ภาพเหล่านี้เป็นฉากบ้านเชิงแส บ้านแม่ ที่น่ากล่าวถึงมากเหลือเกิน ภาพแรกผมขอตั้งชื่อว่า

                 "ตามทางสู่เหย้า ทุ่งข้าวเชิงแส"
                  ก่อนที่จะได้โพสต์ภาพลงให้ได้เห็นกัน.  ผมขอบรรยายภาพเป็นทำนองเพลงนะครับ

                                                 " เชิงแส  ทิ้ง  โนด  มีโหนดกับนา
                                                 เก็บข้าว  วิดปลา  สุขตามประสาชาวทุ่ง
                                                 ในนานองน้ำยามข้าวสุก
                                                 ดังมุกประกายเกล็ดทอรุ้ง
                                                 หอมดินกลิ่นปรุง หอมทุ่งท้องนา
 
                                                    คันคลองหนำเก่า ตับเต่า เถาคัน
                                                  หลุมซอ แสงขัน หลากพืชหลายพันธ์ุลุยนัก
                                                  ยามเย็นแบกโพงไปริมหนอง
                                                  ในมือถือข้องจับลูกคลัก
                                                  ชายดมรั้วผักแกงส้มต้มกิน

                                                       ชีวิต    ชีวา
                                                  ชาวนา  โอบอุ่น   โยนอ่อน
                                                 กลางเพ็ญจันทร์เอนพักผ่อน
                                                 ยามย่ำค่ำนอน สุมไฟไล่ยุง
                                                 แสงธรรมกลางใจ สว่างกว่าแสงกลางกรุง
                                                 บ้านนอก แขนบอก ผ้าถุง
                                                 ตาเดินเคียนพุง  ยายนุ่งโจงเบน

                                                    เชิงแส  ทิ้ง   โนด มีโหนด นา เล
                                                 หวันเย็นโพล้เพล้  ชวนกันทิ่มสารใส่เผล้ง
                                                 ข้าวตอก  ออกษา  ลากพระ รับฐิน ครื้นเครง
                                                 ไหว้ก้ง  หนมเทียน   หนมเข่ง
                                                  โนราห์ รักเลง เพลงบอก หนังลุง "......

         " ภาพเก่าที่หายไป "

       เมื่อเข้าไปในโบสถ์วัดเอกหลังเก่าแล้ว. สิ่งที่เด็กเชิงแสอย่างผมต้องทำเป็นอย่างแรก คือ กราบหลวงพ่อเดิม กราบเสร็จก็ใช้ขันตักน้ำมนต์ในตุ่มสีเขียวอ่อนมาดื่ม. เหลือน้ำมนต์ในก้นขันอยู่หน่อยหนึ่ง เทใสฝ่ามือแล้วลูบหัว. ได้ทำอย่างนี้แล้วรู้สึกเป็นความสุขเหลือเกิน มีความปีติเกิดขึ้นในชีวิต. ดุจว่าชีวิตนี้เรามีที่พึ่ง หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ท่านได้คุ้มครองเรา ชาวเชิงแสหรือชาวบ้านอื่นจากที่ใกล้ที่ไกล เมื่อไปไหว้หลวงพ่อเดิมแล้ว ต้องดื่มน้ำมนต์ในตุ่มที่วางอยู่หน้าหลวงพ่อใบนี้แหละ.บางคนกรอกน้ำมนต์ใส่ขวดไปฝากญาติที่บ้านด้วยก็มีไม่น้อย.

      หลังจากนั้นเวลาของชีวิตเด็กบ้านนอกก็ว่าง. รอเวลาเย็นรอไปต้อนวัวที่ทุ่งสวนตีนบ้านให้เข้าคอก.สวนตีนบ้านที่ผมกล่าวถึงนี้ คือสวนที่อยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน. เวลาที่อยู่ในโบสถ์ผมชอบที่จะเดินดูภาพถ่ายซึ่งแขวนเรียงกันอยู่ที่ฝาผนังด้านทิศใต้. ภาพทั้งหกเจ็ดภาพเป็นภาพในกรอบไม้ขนาดยาวประมาณฟุตหนึ่งแทบทุกภาพ.ภาพขาวดำเหล่านั้นบอกเล่าเรื่องของคณะกฐินสามัคคีจากกรุงเทพฯ นำคณะมาทอดทำบุญที่วัดเอก. แล้วชวนกันไปชมความงามของแหลมสมิหลา สงขลา. ภาพถ่ายของคณะกฐินที่แหลมสมิหลาดังกล่าวนั้น เรียงปีกันตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ เป็นต้นมา. ช่างเป็นภาพที่งามเหลือเกิน โดยเฉพาะงามด้วยความฝันของผมว่า. สักวันหนึ่งผมน่าจะได้ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ...ขณะนี้ไม่ทราบว่าภาพทุกภาพหายไปไหน .

     " เลือกผู้แทน "

    บ้านเชิงแส.แม้ว่าจะห่างไกลความเจริญของตัวเมืองสงขลาเหลือเกิน.แต่กับบรรยากาศของการเลือกตั้งแล้ว ผมรู้สึกว่ามันอยู่ใกล้ตัวผมเสมอมา เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะพ่อได้พูดถึงผู้แทนให้ผมฟังอยู่เสมอ. ผู้แทนที่พ่อพูดถึงบ่อยมีสองคน คือ นายคล้าย ละอองมณี. และนายสงบ ทิพย์มณี. กล่าวเฉพาะนายคล้ายนั้นไม่เพียงแต่พ่อหรอกครับ ชาวเชิงแสคนอื่นๆก็พูดถึงท่านอยู่เสมอ. เช่น แปะชมพี่ชายของแม่ ได้พูดถึงนายคล้ายว่า "นายคล้ายพูดว่า อยากให้หนนสายเขาแดงกับโนดลาดยางเสียที หนนสายนี้ไม่ได้ลาดยาง ก็จะมีคนเอาไปหาเสียงอยู่นั่นแหละ"
   พ่อกับนายคล้ายดูจะสนิทกันพอควร. คือใจนักเลงทั้งคู่ หากเป็นคนสมัยนี้คงจะไม่สนิทกันแน่ และอาจจะโกรธกันก็ได้. เนื่องเพราะเมื่อพ่อไปเป็นพยานในคดีแพ่งที่ศาลสงขลา นายคล้ายเป็นทนายความให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง พ่อเล่าผมว่า "นายคล้ายซักค้านพ่อหนักมาก". แต่ด้วยความที่ทั้งพ่อและนายคล้ายต่างเป็นลูกผู้ชายใจกว้าง. เมื่อเสร็จเรื่องคดีแล้วจึงคบหากันได้อย่างสนิท. ดังคราวที่ลูกนายคล้ายต้องเสียชีวิตลง พ่อก็ได้ร่วมงาน พ่อถามนายคล้ายว่าฝ่ายก่อเหตุติดต่อมาบ้างมั๊ย? นายคล้ายตอบอย่างคมคายอย่างผู้ใหญ่ว่า. "เขายังไม่ได้ติดต่อมาเลยพี่เพียร. เขาอาจจะเห็นว่าเรายังอยู่ในช่วงเสียใจก็ได้"
    เมื่อมีการเลือกผู้แทนทุกคราว. ผมเห็นโปสเตอร์แผ่นเท่าสมุดวาดเขียนติดอยู่ที่เสาศาลาวัด และที่เสาร้านขายข้าวแกงในโรงเรียน. การหาเสียงที่วัดกันด้วยความดีนั้น ในหมู่บ้านหนึ่งๆจะติดแผ่นหาเสียงกันเพียงเล็กน้อย. แต่กระนั้นก็ตาม ที่ผมสงสัยอยู่เสมอ คือ ข้อความใต้ภาพของนายคล้ายที่เขียนว่า..."ทนายความ ชั้น ๑ "..นั้นหมายความว่าอะไร.  ?
    ผมเรียนกฎหมายจนถึงชั้นเนติบัณฑิต. โดยลืมไปว่า เมื่อตอนเล็กๆ เคยติดใจในเรื่องนี้. หลังจากที่ผมเป็นผู้พิพากษาได้ ๕ ปี ผมไปรับราชการประจำที่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วันแรกที่ผมจะขึ้นพิจารณาคดี ผู้พิพากษารุ่นพี่ได้แนะนำว่า ที่สุราษฎร์มีทนายความอยู่คนหนึ่ง เป็น " ทนายความ ชั้น ๒ ". นั่นแหละ จึงทำให้ผมคิดถึงคำว่า ทนายความชั้นหนึ่ง ขึ้นมาอีกครั้ง. เพราะทนายความชั้นหนึ่งสามารถว่าความได้ทั่วราชอาณาจักร และขณะว่าความในศาลทนายความชั้นหนึ่งมีสิทธิสวมครุย. แต่ทนายความชั้นสองว่าความได้บางจังหวัดและขณะว่าความไม่มีสิทธิสวมครุย. 
       

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๔ จีนเชิงแส

บทที่  ๑๔  จีนเชิงแส......๐๐๐๐๐๐๐..............................................................................................................................................................................................+++++++++++
         บ้านเชิงแสเป็นชุมชนโบราณมานานกว่า  ๔๐๐ ปี แล้ว คำว่า "เชิงแส" มาจากภาษาขอมดั้งเดิม ในสมัยอยุธยาเขียนโดยใช้อักขระว่า "บารเชิงแสะ"  อ่านว่า " บ้านเชิงแส ".  ซึ่งแปลว่า "นาส่วนข้างล่าง" หรือ "บ้านปลายนา" ...เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว...ชาวจีนมาอยู่ที่เชิงแสเมื่อใด?............๐๐๐๐๐๐๐๐..............................................................................................................................................................................................++++++++++
            บทนี้ผมจะกล่าวถึง "จีนเชิงแส"  ซึ่งกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้  เป็นบรรพบุรุษของชาวเชิงแสในปัจจุบันนับแล้วได้เป็นพันๆคน. จีนคนแรกเดินทางมาถึงเชิงแสในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ . ต่อมาได้มีชาวจีนเดินทางมาตั้งบ้านเรือนที่เชิงแสอย่างต่อเนื่อง. คนจีนที่มาอยู่ที่เชิงแสนั้น ไม่ได้มุ่งตรงมาเลยทีเดียว ส่วนใหญ่เป็นการเดินทางช่วงที่ ๒  คือ ได้มาอยู่ที่ตำบลอื่นก่อน แล้วต่อมาจึงมาอยู่ที่เชิงแส. ยกตัวอย่าง เช่น "จีนซุนเฮาะ" ทวดของผม เดินทางมาเมืองไทยพร้อมกับน้องชายคนหนึ่ง ชื่อว่า "จีนผ้อง". เมื่อมาถึงแผ่นดินไทย จีนซุนเฮาะและจีนผ้องสองพี่น้องได้พักอาศัยอยู่ที่ตำบลระวะก่อน แล้วเฉพาะจีนซุนเฮาะผู้พี่ จึงเดินทางต่อมาที่บ้านเชิงแส. ซึ่งขณะนั้นได้มีคนจีนอาศัยอยู่บ้างแล้ว เช่น เตี่ยของแปะล่อง บ้านตั้งอยู่ใกล้วัดเอก , ....+++...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องถึงรัชมัยต่อมา มีชาวจีนมาอาศัยอยู่ที่เชิงแส ดังนี้...... "ก๋งเซ่งคุ่น"  ,  "ก๋งยี่เซ่ง"  ,  "ก๋งซุนเฮาะ" ,   "ก๋งจิ้ว" ,   "ก๋งเม้งกี่  แซ่ออง"  ,  "ก๋งเอี่ยม"  ,  "ก๋งสุย"  ,   "ก๋งหลีย่อง"  ,  "ก๋งกู้เซ่ง"  ,  "ก๋งฉาวเท่า"  , "ก๋งกี่เตียง"  , "ก๋งกี่โถ"  , "ก๋งกี่เท่า" , "ก๋งนอง" , "ก๋งโหย แซ่อุ่ย" ...นอกจากนั้นยังมีคนจีนที่ผมไม่ทราบชื่อแต่ทราบสายสกุลลูกหลาน เช่น ทวดของน้าแอบ ชัยเชื้อ ก็เป็นคนจีน. ต้นสกุลนิลวงศ์พ่อของกำนันฉิ้น ก็เป็นคนจีน . ศพคนจีนซึ่งตั้งอยู่ที่เนินดินนาของลุงอิ่มป้าเป้า ก็เป็นจีนแน่นอน.  ชาวจีนเชิงแสจึงมีอยู่มาก มากมานานแล้ว ทำให้เข้าใจผิดไปว่าชื่อบ้านของแม่มาจากคำว่า ซินแส  ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย... เชิงแส ไม่ได้มาจาก ซินแส แต่อย่างใดทั้งสิ้น...........๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐................................................................................................................................................................................+++++++
           ขณะนี้ผมได้เตรียมที่ดินได้แปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ตั้งอยู่ที่สวนตีนที่ "หนองไอ้เสือ" ใกล้กับเลียบหัวโจรซึ่งเป็นที่ฝังศพก๋งของผม  ผมตั้งใจว่าในชีวิตของผม ผมจะสร้าง  "สุสานจีนเชิงแส"  ขึ้นให้ได้ . ,ผมขอเล่าประวัติที่ดินแปลงนี้เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงพระคุณของเจ้าของที่ดินเดิม. ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นของ "ทวดขวัญแก้ว" ทวดชายท่านนี้มีที่ดินอยู่พอสมควร แต่ทวดไม่มีบุตร ครั้นชราเจ็บป่วยลง ได้มีบุคคลสองคนไปช่วยดูแลปรนนิบัติ บุคคลทั้งสองนั้น คือ "ก๋งผอม" ลูกชายของก๋งซุนเฮาะ กับ "คุณตายน"  ทวดขวัญแก้วจึงยกที่ดินประมาณ ๔ ไร่ให่ก๋งผอมและคุณตายนได้แบ่งกัน ... เมื่อก๋งซุนเฮาะเสีย ก๋งผอมจึงใช้ดินส่วนที่ได้แบ่งมานี้เป็นที่ฝังศพก๋งซุนเฮาะซึ่งเป็นบิดา...............................๐๐๐๐๐๐๐๐...............................................................................................................................................................................................+++++++
          คนจีนรุ่นแรกๆ ที่มาอยู่ในบ้านเชิงแสได้สืบทอดธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลไว้ที่เชิงแสหลายอย่าง. เช่น ภาษา , อาหาร , ประเพณีไหว้บรรพบุรุษ , เมื่อได้มาตั้งรากฐานที่แผ่นดินใหม่แล้ว ชาวจีนเหล่านี้ได้แต่งงานกับคนไทยสืบเชื้อสายเผ่าพันธ์ุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน บุคคลสำคัญแห่งบ้่านเชิงแสที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนท่านแรกที่ผมจะเล่าถึง คือ ..." พระราชปริยัติโกศล ( เสถียร  ฉันทโก  ป.ธ. ๙ ) "  เจ้าอาวาสวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ ......๐๐๐๐๐๐๐๐๐.............................................................................................................................................................................................+++++++++
            ท่านเจ้าคุณเสถียรเล่าให้ผมฟังว่า  " เราเป็นคนบ้านเชิงแส  เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐  มีโยมก๋งสุยเป็นปู่ และก็มีโยมเตี่ยจูห้องเป็นพ่อ. เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดเชิงแสของพระอาจารย์เมฆ เมื่อครบบวชแล้วท่านเป็นพระอุปปัชฌาย์บวชให้. บวชแล้วได้มาพักที่วัดกลางกับพระอาจารย์เขียว......+++
           

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๓ เชิงแสบ้านฉัน ; สารพันปกิณกะ

บทที่  ๑๓  " เชิงแสบ้านฉัน ; สารพันปกิณกะ "..........................................๐๐๐๐๐๐๐๐..................................................................................................................................................................................................++++++++++..........
          ผมตั้งใจจะเริ่มต้นบทนี้เสียก่อนทำบุญเดือนสิบ. เพื่อว่าลูกหลานของบ้านเชิงแสกลับไปทำบุญให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายและบรรพชนผู้ล่วงลับแล้ว. จะได้มีเวลาพูดคุยสนทนากันถึงเรื่องที่ผมกล่าวถึงในบทนี้ หรือจะได้ไปดูสถานที่จริงกัน. เนื้อหาในบทนี้เป็นคำถามและคำตอบประมาณ ๕๐ หัวข้อ คล้ายๆ กระดานสนทนาความรู้เบ็ดเตล็ด ทำนองนั้น.  ผมขอเริ่มคำถามเลยนะครับ.............++++++, ๑. คำว่า  "เชิงแส" ไม่ได้มาจาก ซินแส อย่างแน่นอน แล้วคำว่าเชิงแส แปลว่าอะไร?  ๒. "วัดรักษ์" แห่งบ้านเชิงแสตั้งอยู่ที่ไหน? ๓. โรงสีแห่งแรกของบ้านเชิงแสซึ่งเป็นการร่วมหุ้นกันระหว่างครูหลัก มุสิกรักษ์ และ คุณตาปั้น สุวรรณโณ ต้องเลิกกิจการเพราะอะไร? ๔.ท่านรู้หรือไม่ว่า ที่เชิงแสเคยมีวิกหนัง ใครเป็นเจ้าของ และโรงภาพยนตร์แห่งแรกของบ้านเชิงแส ตั้งอยู่ที่ไหน? ๕. "นายศุข ประเพณีเชิงแส" ที่ปรากฏชื่อในแผนที่กัลปนาวัดพะโคะ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือเมื่อสามร้อยสามสิบกว่าปีมาแล้วนั้น นายศุขบรรพชนคนเชิงแสท่านนี้ ทำหน้าที่อะไร? ๖. "หนองปทิ่นพระครูเอก" คืออะไร และตั้งอยู่ที่ไหน?  ๗. ใครเป็นประธานทำพิธีเปิดโรงเรียนวัดเชิงแส (เมฆประดิษฐ์) ?  ๘. "คลองหมารัง" อยู่ที่ไหน? ๙. จุดแบ่งน้ำกลางทุ่งเชิงแสที่นับว่าเป็นสันปันน้ำให้ไหลไปทางทะเลหัวนอนและไปทางคลองโรงนั้น ตั้งอยู่ที่ไหน? ๑๐. ที่ชาวบ้านเชิงแสพูดว่ามีเบี้ยอยู่  "โขก" หนึ่ง นั้น หมายความว่ามีิเงินเท่าใด?...................๐๐๐๐๐๐๐๐.....................................................................................................................................................................................+++++++....
           ต่อไปเป็นคำถามข้อที่ ๑๑ ถึง ข้อที่ ๒๐ .,.....๑๑. ใครเคยเห็นเจดีย์ที่วัดเอกบ้าง?  , ๑๒. ชาวจีนเข้ามาอยู่ที่บ้านเชิงแสเมื่อประมาณรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ทำไมที่วัดเชิงแสใต้จึงมีป้ายสุสานของ "คนตระกูล ถู" ซึ่งป้ายดังกล่าวมีอายุสามร้อยปีเศษแล้ว เป็นเพราะเหตุใด ? , ๑๓. ก่อนที่จะเผาศพกันที่ป่าช้าในปัจจุบัน เดิมคนเชิงแสมีป่าช้าที่ไหน? , ๑๔. คำว่า "ทางรง" และ  "ชายดม" เป็นคำภาษาไทยใช่หรือไม่ และทั้งสองคำนี้ แปลว่าอะไร? , ๑๕. ชาวเชิงแสคนแรกที่ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา คือใคร? , ๑๖. ใครรู้จักกำนันคนแรกของตำบลเชิงแสบ้าง? ,๑๗. ขณะนี้ชาวเชิงแสบ้านใดยังใช้ "ป้อย" ตวงข้าวสารอยู่อีกบ้าง? , ๑๘. เครื่ิองบดยาของพ่อท่านเขียววัดกลาง อยู่ที่ใด? , ๑๙. มีใครรู้ประวัติของศพจีนที่ตั้งอยู่ที่นาของลุงอิ่มป้าเป้าบ้าง? , ๒๐. ลิเกคณะบุษบาแสดงที่เชิงแสกี่ครั้ง? .....คำถามทั้งหมดนี้ยากหรือเปล่าครับ?.....+++...ต่อไปคำถามคำตอบตั้งแต่ข้อที่ ๒๑ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ พืช และสัตว์น้ำ...จนถึงข้อที่ ๓๐ ..............๐๐๐๐๐๐๐...........................................................................................................................................................................................+++++++++.........
            เริ่มเลยนะครับ., ข้อที่ ๒๑. ท่านใดรู้จัก "มาบโปปุ้น" บ้าง? ,  ๒๒. รู้หรือไม่ว่า "เก๊กป้าพิน" กับ "จูดป้าจัน" เหมือนและต่างกันอย่างไร? , ๒๓. ท่านยังจำ "ปลาพรม" ได้อยู่อีกหรือไม่? , ๒๔. รู้หรือไม่ว่าที่ทะเลบ้านเชิงแสมี "ปลาวาฬหัวบาตร" อยู่จำนวนหนึ่ง และทั้งทะเลสาบสงขลาขณะนี้มีเจ้าหัวบาตรเพียง ๒๐ ตัวเท่านั้น? , ๒๕. ใครยังจำ "บ้านนายเรียว" อยู่อีกบ้าง ยกมือขึ้น? , ๒๖. ขณะนี้ "ต้นโพธิ์เล" ที่บ้านเชิงแสยังเหลืออยู่กี่ต้น? , ๒๗. "ลูกกลุ้มกล้ำตาวัว" เป็นอย่างไร ยังมีอยู่ที่เชิงแสอีกหรือไม่ ใครรู้บ้างช่วยตอบที? , ๒๘. ถ้ากลับบ้านเดือนสิบนี้ เรายังจะได้กิน "หวา , ผักริ้น , ขี้ไต้ " พืชน้ำทั้งสามชนิดนี้อีกหรือไม่? , ๒๙. ที่ว่า "คลองคด " นั้น มีทั้งหมดกี่คดกันแน่ ใครเคยนับบ้าง? , และ ข้อที่ ๓๐. ท่านทราบหรือไม่ว่าที่ทะเลบ้านเรา มีการพบปลากระเบนพันธุ์ใหม่ของโลก และมีการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่สงขลาว่า "SINGOREAN" ...๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐.............................................................................................................................................................................+++++++++++......
             ต่อไปเป็นกระดานสนทนาคำถามคำตอบเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้. ข้อที่  ๔๑.บ้านใครยังคงใช้ "ไม้ขัดหม้อ" อยู่บ้าง? , ๔๒. กระสอบที่เชิงแสมีกี่ชนิด  ท่านรู้จักเครื่องใช้ที่ชื่ออย่างนี้หรือไม่ "สอบนั่ง"  , "สอบนอน"  ,  "สอบหนาด"  , "สอบปู้เท้" ?  ๔๒. ลูกหลานบ้านเชิงแสยังจำ "ครกบด" กับ "ครกสี"  ได้อยู่หรือไม่?  ,  ๔๔. เครื่องมือใช้หาปลาที่เรียกว่า "หยรุด " กับ "สร้อน" ต่างกันอย่างไร? , ๔๕. ที่บ้านใครยังใช้ "ตะเกียงเจ้าพายุ" ช่วยบอกด้วย?  ,  ๔๖. บริเวณที่เรียกกันว่า "ดอนนายสน" เคยมีการตั้งบ่อนไก่ชน ระยะเวลาที่ขันน้ำจม ชาวบ่อนว่า "อัน" ใครนึกออกบ้าง? , ๔๗. ท่านรู้จัก "ไม้หมก" หรือไม่ เมื่อเด็กๆ ใครเคยโดนไม้ชนิดนี้บ้าง ยกมือขึ้น? , ๔๘. ท่านรู้จัก "หินเหล็กไฟ" ที่ใช้ตีเพื่อจุดยาสูบ หรือไม่ ? , ๔๙. ในงานไหว้ทำไมต้องใช้พลูจากตำบลคูเต่า ? , ๕๐. "ชัว" คืออะไร? ชาวเชิงแสคนใดเรียกชัวว่า " microphone".................๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐......................................................................................................................................................................................++++++++++++++......
               คงต้องต่อคำถามไปอีกเสียแล้ว เพราะยังมีปกิณกะของบ้านเชิงแสอยู่อีกพอควรที่เดียว . ต่อข้อที่ ๕๑.  "พระเขน"  กับ  "เขน" ต่างกันอย่างไร? ,  ๕๒. พ่อท่านเมฆห้ามมิให้ใครเอาใบจากที่กอจากวัดหัวนอนไปสูบยา  หากใครสูบเข้าจะเป็นโรคอะไร? , ๕๓. ขณะนี้ที่บ้านเชิงแส ใครยังคง "เหนียดยา" อยู่อีกบ้าง? ,  ๕๔. ลิเกที่มาแสดงที่เชิงแสมากครั้งที่สุด  คือ ลิเกคณะ "แก้วราหู" ใช่หรือไม่? , ๕๕. เด็กที่เชิงแสคนใดยังเล่น  "เมืองลูกฉุด"  "ม้าหางแดง"  และ " ไม้ขวิด" อยู่อีกบ้าง ?  , ๕๖. ท่านยังจำ "ตับจาก" ได้หรือไม่? , ๕๗. คาถาที่ชาวเชิงแสใช้รักษาคนที่ถูกหมากัด มีว่าอย่างไร? และเพราะเหตุใดขณะที่รักษาต้องใช้การพ่นหมากพร้อมกับ "เหยียบ" ไปด้วยพร้อมๆ กัน ? , ๕๘. ชาวจีนที่เชิงแสมีทั้งหมด ๑๐ ตระกูลใช่หรือไม่? ใครเป็นลูกหลานของ  "จีนกี่ย่อง"  , "จีนเอี่ยม"  ,  "จีนกี่เถ้า"  ,  "จีนนอง"  , "จีนโหย แซ่อุ่ย"  บ้าง ยกมือขึ้น?

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๒ เชิงแส ;ริมเล เสน่ห์บ้านนา

บทที่ ๑๒ เชิงแส ;ริมเล เสน่ห์บ้านนา


        บ้านนาบ้านนอกแต่ละที่แต่ละแห่งนั้น แม้จะเป็นชุมชนของคนชนบทเหมือนกันก็ตาม แต่ความมีเสน่ห์ของแต่ละที่ไม่เหมือนกันครับ บ้านนาของอีสานตอนล่างแถวๆลำน้ำมูล มีเสน่ห์ของความอดทนในการต่อสู้กับความแห้งแล้งและบรรเจิดของความหวังเมื่อถึงคราหน้าเกี่ยว ประมาณเหมือนที่พงศ์เทพ กระโดนชำนาญ บรรยายว่า..."กำด้ามเคียว มือเรียวเกี่ยวรับรวง รวงข้าวลีบร่วงลงดิน"...+++..ส่วนเสน่ห์ของท้องทุ่งบ้านนาภาคกลางนั้น ต่างแบบจากอีสานอยู่มากทีเดียว เพราะบ้านนาภาคกลางจะมีบรรยากาศของคุ้งน้ำเข้ามาเสริมเสน่ห์ทุ่ง เอาเป็นว่าอย่างที่ ศรคีรี ศรีประจวบ บรรยายไว้ในเพลง "ทุ่งรัก" ที่ว่า..."แดดบ่ายปลายคุ้ง ท้องทุ่งรวงทอง ฝนทรงเมื่อเดือนสิบสอง หัวใจพี่กลับนองรักน้องนางทุ่ง ...กระจับ จอก แหน เป็นแพลอยติดก้นคุ้ง.."...+++...สำหรับบ้านนาบ้านทุ่งอย่างบ้านเชิงแสบ้านแม่ของผม ก็มีเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเดิมผมเคยคิดว่าเป็นเสน่ห์ความงามของแปลงนาระหว่างต้นตาลนับแสนต้นริมทะเลสาบสงขลา ที่มีการทำนาโดยชาวไทยใต้ผสมเชื้อสายจีน..เดิมผมคิดอย่างนั้นจริงๆ คิดมานานแล้ว...แต่เพิ่งรู้ตัวว่า ที่ผมคิดไว้นั้น ไม่น่าจะใช่ ...เพราะแท้จริงแล้ว เสน่ห์ของบ้านนาเชิงแสกลับอยู่ที่..."สำรับบ้านนา อาหารบ้านทุ่ง" ต่างหาก...ดังนั้นบทนี้ผมจะเล่าถึงเรื่องเสน่ห์ด้านอาหารการกินสำรับกับข้าวของชาวเชิงแสครับ รับรองว่า ทุกสำรับนั้นเป็นของหากินยากเสียแล้วในยุคนี้ขณะนี้ ยกตัวอย่างให้ฟังก็ได้ เช่น...++.๑."น้ำเคยปากไห"...++.๒."หนาง"...++.๓."เคยจี"...++.๔."กุ้งเค็ม สูตรป้าเพียร"...++.๕."ขนมม่อซี่ สูตรป้าลับ"...++.๖."หมูต้มส้มแขก"...++.๗."ไข่ปลาเจี้ยน"...++.๘."ปลาดุกร้า"...++.๙."ต้มเลือดเครื่องในหมู"...++.๑๐."เหนียวงานไหว้"...++.๑๑."ปลาริ้วจี กับ ปลาตรับอับเกลือ"...++.๑๒."น้ำเคยขี้ปลาเด"...++.๑๓."ต้มเค็มลูกคลัก"...++.๑๔."หนมโคหัวล้าน"...++.๑๕."ลาซับน้ำผึ้ง"...ฯลฯ...ซึ่งผมขอเริ่มจาก"หมูต้มส้มแขก" และ "ต้มเลือดเครื่องในหมู" ก่อนนะครับ

        เสร็จจากงานทำบุญชักพระวันออกพรรษาแล้ว คู่บ่าวสาวที่ผู้ใหญ่และคนเถ้าคนแก่ได้ "แหลงกันไว้แล้ว" ก็ดูฤกษ์งามยามวันดีกำหนดการงานแต่งที่เรียกว่า "ยกหัวขันหมาก" เด็กๆอย่างผมและเพื่อนๆก็เฝ้ารอฟัง "เสียงเครื่องไฟ" ซึ่งเจ้าภาพบ้านเจ้าสาวได้ว่ามาเปิดไฟฟ้าแทนแสงตะเกียงและเปิดเพลงในงาน งานแต่งงานมงคลสมรสนั้นที่เชิงแสบ้านผมเรียกว่า "งานไหว้" งานไหว้งานนี้เจ้าสาวเป็นชาวเชิงแส เธอชื่อว่า "พี่น้อย" พี่น้อยเป็นหญิงสาวที่สวยมาก หน้ารูปไข่ ไว้ผมยาว ร่างสูงเหมือนคุณตาของเธอ แต่ผิวนวลนั้นออกจะคล้ำไปหน่อย ทั้งๆที่แม่และพ่อของพี่น้อยที่ผมเรียกว่าน้า เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ความสวยของพี่น้อยเป็นความสวยแบบธรรมชาติสาวบ้านนา สวยโดยไม่ต้องใช้ครีมไข่มุกกวนอิม ของนายห้างประจวบ จำปาทอง บ้านของพี่น้อยเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงดูสะอาดตาตั้งอยู่ที่ชายคลอง ผมไม่ได้พบพี่น้อยเธอบ่อยนักเพราะเธอไปเรียนตัดเสื้อที่ในเมือง เรียนจบแล้วก็มีจักรเย็บผ้ามารับจ้างเย็บเสื้อเย็บผ้าที่บ้าน ต่อเมื่อถึงหน้านานั่นแหละผมจึงได้พบพี่น้อยบ่อยขึ้น ซึ่งก็นับว่านานๆครั้งเพราะนาอยู่คนละที่กัน การ "เข้างาน" ในงานไหว้ครั้งนี้จะมีขึ้นที่บ้านฝ่ายเจ้าสาว...งานไหว้จัดขึ้น ๓ วัน วันแรกเป็นวันก่อนเข้างาน เครื่องไฟเริ่มมาตั้งแต่เช้าของวันนั้น วันที่สองเป็นวันเข้างาน มีการเลี้ยงแขกกินงานกินเลี้ยงกันทั้งวันจนถึงมื้อค่ำ วันที่สามเป็นวันไหว้ ขันหมากของเจ้าบ่าวมาถึงและพิธีไหว้มงคลสมรสอยู่ในวันที่สามนี้...ตั้งแต่เริ่มงานวันแรก แม่และญาติพี่น้องตลอดจนเพื่อนบ้านที่เป็นผู้หญิงนำโดยคุณน้าเอื้อนภรรยาของคุณครูบวร ได้มาช่วยกันจัดครัวใหญ่เป็นที่หุงข้าวต้มแกงที่กอไผ่ริมรั้ว ภายในเขตบ้านเจ้าสาวบริเวณด้านหลังบ้าน ส่วนน้าหลวงฝ่ายชายที่ชำนาญการนึ่งข้าวด้วยกะทะใบบัว ก็มาเตรียมก้อนเส้าใหญ่ตั้งเตาที่ใต้เงากอไผ่ใกล้ๆกัน และที่ขาดไม่ได้เลย! ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด! สำหรับบุคคลที่คล่องงานโยธาสารพัดอเนกประสงค์ ก็คือ "บ่าวหมุน" แห่งบ้านโคกพระท่าคลองหัวนอน บ่าวหมุนเป็นชายร่างค่อนข้างหนา สูงราว ๑๗๐ เซนติเมตร เห็นจะได้ บ่าวหมุนได้มาช่วยงานของชาวเชิงแสทุกงาน บ่าวหมุนถนัดงานสารพัดที่เป็นงานหนักต้องใช้แรงกาย ไม่ว่าจะเป็นตักน้ำ เฉียงฟืน หาบถ้วยจานชามมาจากวัด แบกข้าวสาร เป็นต้น ...ภาพของบ่าวหมุนอยู่ในความทรงจำของผมอยู่เสมอมา...ขออภัยจริงๆ หากผมจะกล่าวว่า เมื่อผมเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผมตั้งความหวังว่า ผมจะโชคดีอย่างยิ่ง หากในศาลที่ผมเป็นหัวหน้านั้นมีเจ้าหน้าที่ศาลที่เป็นคนขยันการงาน ซื่อสัตย์ และไม่มีปากมีเสียงเช่นเดียวกับบ่าวหมุน...+++..การเข้างานอย่างนี้ แม่ครัวนับว่าสำคัญมาก คุณน้าแม่ของพี่น้อยและป้าหนูยายของเธอ นัดพูดคุยวางแผนงานครัวกับคณะฝ่ายแม่ครัวมานานหลายวันแล้ว เพราะต้องเตรียมการหลายอย่าง ตั้งแต่การโดยสารเรือยนต์ไปซื้อ หอม กระเทียม ส้มแขก น้ำตาลทราย น้ำปลา ซีอิ๊ว และขนมโรง ที่ตลาดพัทลุง ซึ่งคนเชิงแสบ้านผมเรียกตัวเมืองพัทลุงว่า "สี่กัก" คือ สี่แยก นั่นเอง จะไปพัทลุงก็บอกว่าไปเมืองลุงไปสีกัก นอกจากนั้น ก็ยังต้องเตรียมการเรื่องอาหารคาวอาหารหวานไว้เลี้ยงแขกหลายหม้อให้พอเพียง ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ขนมสำหรับคู่แต่งงานใหม่ต้องนำไปไหว้คนเฒ่าคนแก่ในเวลากลางคืนหลังวันแต่งประมาณ ๓ วัน อันนี้เป็นธรรมเนียมสำคัญของชาวบ้านเชิงแสเลยทีเดียว

        เช้าวันแรกนั้น แม่และฝ่ายหญิงฝ่ายต่างนำ "เหล็กขูด" มีดหั่นหมู เขียง ครกตำเครื่องแกง กันไปที่บ้านงานเตรียมช่วยทำครัว เมื่อไปถึงก็ได้ยินเสียงน้าเอื้อนสั่งบ่าวหมุนว่า "เหล็กขูดไม่พอคน หมุนช่วยไปเอาเหล็กขูดจากครัววัดกลางมาให้ที" หลังจากนั้นไม่นานน้าท้วมก็หาบหมูมาให้แม่ครัวช่วยกันหั่นเป็นชิ้น น้าท้วมบอกว่า เดี่ยวน้าหีดภรรยาแกจะนำเลือดหมูตามมา ให้ได้ต้มจืดเลือดหมูกับเครื่องในกินกันก่อน พวกแม่ครัวฝ่ายหญิงตั้งวงขูดมะพร้าวกันบนเสื่อพวกหนึ่ง มะพร้าวนี้ญาติๆของฝ่ายเจ้าบ่าวนำมาให้นับร้อยลูก เป็นมะพร้าวจากเกาะใหญ่ทั้งนั้น ฝ่ายหญิงอีกพวกที่บนแคร่ไม้ต่างเริ่มลงมือช่วยหั่นหมูสามชั้นเป็นชิ้นๆ น้าเอื้อนล้างส้มแขกผึ่งลมไว้ให้พอนิ่ม...ที่บนบ้านพี่ผู้หญิงสาวๆ ช่วยกันติดสายรุ้งหลากสีสวยงามเป็นรัศมีกลมกระจายไปโดยรอบที่ห้องโถงของบ้าน ส่วนคนแก่ๆฝ่ายหญิงดูความเรียบร้อยของหมากพลู...และห้องหอซึ่งต่อเติมออกไปทางทิศตะวันออกของตัวบ้านใหญ่ งานทุกอย่างราบรื่นสมกับเป็นงานมงคลจริงๆ....+++..ไม่นานนักน้าหีดก็หาบเลือดหมูมา โดยมีลูกชายรุ่นเดียวกับผมเดินตามมาด้วยและในมือของเขานั้นได้ถือของสำคัญอย่างยิ่งมา นั่นคือ "กระเพาะเยี่ยวหมู" ๒ กระเพาะ ที่ว่าสำคัญก็เพราะเด็กๆจะได้นำมาเตะเล่นเหมือนลูกฟุตบอล น้าท้วมบอกว่าให้เป่าลมเสียใหม่ให้ตึงๆ น้าหลวงคนครัวจึงให้ไปหักก้านมะละกอที่หน้าบ้านครูบวรมาเป็นท่อเป่า ได้ก้านมะละกอมาแล้ว น้าท้วมเสียบก้านมะละกอด้านหนึ่งเข้าไปในกระเพาะหมู แล้วให้เด็กๆช่วยจับปากกระเพาะไว้ให้แน่น น้าเป่าลมเข้าไปไม่กี่พรืด กระเพาะหมูก็ตึง พวกเราช่วยกันใช้ยางรัดจนแน่น แล้วเฮโลพากันไปเตะกันอย่างชุลมุนแสนสนุก โดยมีเสียงผู้ใหญ่ตะโกนมาว่า "พากันไปฉัดไกลๆ ผู้ใหญ่จะทำครัว"

         "ต้มเลือดเครื่องในหมู" มีชื่อเรียกอีกให้สั้นเข้าอีกอย่างว่า "ต้มเลือดหมู"...เป็นแกงจืดที่อร่อยมาก และนานๆจึงจะได้ทำกันสักครั้ง เนื่องจากต้องใช้เลือดหมูสดและเครื่องในหมูทุกอย่างผสมกันต้มเป็นหม้อใหญ่ๆ แกงประเภทนี้เป็นแกงรวมทำกินกันก่อนในหมู่วงของเจ้าภาพ,ยกใส่ถาดให้ผู้อาวุโส และล้อมวงกินกันในพวกคนครัวผู้มาช่วยงาน...คือเป็นแกงในครัว ไม่นำไปเลี้ยงแขก...วิธีทำไม่ยากเลย เริ่มจาก ตั้งหม้อใหญ่ใส่น้ำต้มให้เดือด ใส่เลือดหมู ตามด้วยชิ้นของเครื่องใน ประเภท ตับ ปอด ใส้อ่อน ต่อด้วยหมูสามชั้นหั่นชิ้นเล็กๆ หัวหอมปอก ๒ กำมือใหญ่ๆ ต้มจนเดือดพอสุก ใส่เกลือ น้ำตาลเพื่อชูรส ปิดท้ายด้วยพริกไทยดำตำละเอียด ขณะที่แกงเดือดอยู่นั้น ก็เตรียมตัวล้อมวงรอชิม ท่ามกลางไอหอมของต้มเลือดหมู...พี่ละอองบอกว่า "สุกแล้วๆ จัดเท่ให้คนเฒ่าคนแก่เลย"...+++ผู้หลักผู้ใหญ่ผู้อาวุโสทั้งคุณตาคุณยายที่นั่งยนหมากเคี้ยวพลูกันอยู่ที่บนบ้านนั้น มีบุคคลสำคัญสำหรับงานไหว้คนหนึ่งด้วย ท่านผู้อาวุโสท่านนี้ คือคนที่ผมเรียกว่า "ลุงมุก" ลุงมุกป้าจันบ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดหัวนอน ลุกมุกเป็น "หมอทำขวัญบ่าวสาว"...งานแต่งงานที่บ้านเชิงแสนั้น มีหมอทำขวัญบ่าวสาว เช่นเดียวกับงานบวชท่ี่ต้องมี หมอทำขวัญนาค หมอทำขวัญบ่าวสาวทำหน้าที่ให้พรและสั่งสอนอบรมทุกเรื่องให้คู่บ่าวสาวทราบ ใช้เวลาสั่งสอนอบรมในวันพิธีนานมากๆเลยทีเดียว ...เรื่องที่สอนก็เช่น การครองรัก การครองเรือน การทานอาหารที่ทำให้มีน้ำนม การเลี้ยงลูก เยอะมากเลย...ผมกับพี่ๆผู้หญิงลูกสาวของลุงมุกสนิทกันทุกคน เพราะเมื่อผมเป็นเด็กผมไปกินข้าวที่บ้านลุงมุกหลายครั้ง อีกทั้งลูกชายคนเล็กของลุงมุกกับผมก็เป็นเพื่อนกัน เขาชื่อว่า "แก้ว" เมื่อหลายปี่ก่อนผมขับรถเช่าจากสนามบินหาดใหญ่ ผ่านวัดพะโคะเมื่อเย็นมากแล้ว วันนั้นมีงานที่วัดพะโคะ ผมได้พบกับแก้วเพื่อนเก่าของผม เมื่อผมไปทัก แก้วจำผมได้ และถามผมว่า "มึง กร ลูกน้าเพียร หมันไหม้?" ผมตอบว่า "หมันแล้วแก้วเหอ" แก้วเลยบอกว่า "หลบบ้านอีกคราวหลัง ขอให้ซื้อกางเกงขายาวมาฝากสักตัว" ผมโชคดีอยู่อย่างที่กลับเชิงแสครั้งใด ก็มักจะพบเพื่อนๆ เมื่องานทำบุญทอดผ้าป่า ที่ป่าช้าเชิงแส วันที่ ๑๑ เมษายนที่ผ่านมา ได้พบเพื่อนเก่าอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า "แจก" เราพบกันขณะผมกำลังถ่ายภาพวัดกลาง แจกจำผมไม่ได้ แต่ผมจำเขาได้ดี ถามว่าแจกจะไปไหน แจกว่า "ไปวัดเอก" ผมเลยขับรถไปส่งแจกที่วัดเอก แจกเขาเป็นเจ้าประจำกับวัดเอก ผมส่งแจกลงจากรถแล้ว พาไปนั่งที่หน้าโรงครัวตามที่แจกต้องการ แล้วผมขอถ่ายภาพของแจกมา ๑ ภาพ แจกวางมาดยิ้มเย็นให้ผมเก็บภาพด้วยความเต็มใจ...ทั้งแจกและแก้วเป็นเพื่อนเก่าของผมครับ...เพื่อนเก่าที่เชิงแส...!..........๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐................................................................................................................................................................................+++++++++++++++.................
              หลังจากอิ่มม้ือเช้าด้วยอาหารบ้านทุ่งตำหรับเชิงแสแล้ว . แม่ครัวทุกคนเริ่มหั่นหมูกันต่อ เพราะจะต้องทำกับข้าวชนิดแรก นั่นคือ "ต้มส้มแขก" .สำรับประเภทนี้ พอที่จะจัดเข้าในประเภทแกงจืดได้เหมือนกัน แต่เป็นแกงจืดที่มีรสชาดของความเปรี้ยวนำ ตามด้วยหวานอมเค็ม น้าเอื้อนหัวหน้าแม่ครัวตั้งกระทะใบบัวบนก้อนเส้า. แล้วใส่น้ำสามส่วนสี่  เติมฟืนเร่งไฟจนน้ำเดือด น้าบอกให้ลูกมือนำหมูเนื้อแดงและหมูสามชั้นชิ้นใหญ่เท่าหมูพะโล้ มาใส่ลงในกระทะ . เมื่อหมูสุกจนนุ่มดี ก็ใส่ซีอิ๊วขาวลงไป ตามด้วยเกลือและน้ำตาลทราย. ได้ที่แล้วจึงใส่ชิ้นส้มแขกหลายฟายมือ  ตั้งไฟต่ออีกไม่นาน. รสแกงหอมอร่อยก็อวลกลิ่นทั่วลานเงาไผ่ . เป็นกลิ่นแกงกลิ่นกับข้าวแรกของงานไหว้. ขณะเดียวกัน น้าหลวงฝ่ายชายก็เริ่มนึ่งข้าว ด้วยกระทะใบบัว  ครอบด้วยถังใหญ่ ใต้ถังเป็นถาดข้าวสารน้ำปริ่ม  วางเป็นระเบียบอยู่ในชั้นไม้เนื้อแข็งประมาณ ๑๒ ถาด. เป็นวิธีหุงข้าวที่แปลกตามาก ถ้าไม่ใช่งานไหว้อย่างนี้ ก็มักจะไม่หุงกัน . งานแต่งพี่น้อย แม้จะเป็นคนเชื้อจีน แต่บ้านนาบ้านทุ่งอย่างบ้านเชิงแส อย่างนี้ กับข้าวเลี้ยงแขกอีกอย่างที่ ขาดไม่ได้ นั่นคือ "แกงคั่ววัว"  ซึ่งจะมีการตีหัววัว ก่อนมีการชำแหละ. ทำไมไม่ฆ่าวัวโดยวิธีอื่นก็ไม่รู้ . แกงคั่วเนื้อวัวเป็นอาหารเลี้ยงแขกประเภทแกงเผ็ด . ปัจจุบันเรียกกันติดปากว่า "คั่วกลิ้ง" . ชื่อที่เรียกว่าคั่วกลิ้ง  ผมเพิ่งได้ยินครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๓๙  ปีนั้นผมรับราชการที่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี. แต่วิธีทำคั่วกลิ้ง กับวิธีทำคั่ววัวที่เชิงแสบ้านผมนั้นแตกต่างกัน.  เอาคร่าวๆ ก็คือ คั่ววัวที่เชิงแสเป็นคั่วแห้งที่ใส่กะทิ ...+++.ซึ่งแม่ครัวที่ขูดมะพร้าวเสร็จแล้ว ได้เตรียมช่วยกันทำเครื่องแกง ...เรียกว่า "ทิ่มเครื่อง" คือตำเครื่องแกงนั่นเอง....+++ เสียงตำเครื่องแกงหลายครก ดังสนั่นทั่วคลองเชิงแส . ในขณะที่เสียงเครื่องไฟก็เริ่มเปิดเพลง...++++."ขันหมากมาแล้ว"...ของขุนพลเพลงชื่อดังแห่งยุค "ยงยุทธ  เชี่ยวชาญชัย"...จากนั้นก็ต่อด้วยเพลง "รักพี่จงหนีพ่อ" ...แล้วเป็นเพลง "สัจจะชาวนา" ...ซึ่งมีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า ..."พี่เป็นคนจน  รถยนต์ก็ไม่มีจะขี่  มีแต่เกวียนเทียมควายชั้นดี อยากเอาไปให้ขี่ก็อายเหลือทน...",..และเป็นเรื่องบังเอิญหรือตั้งใจก็ไม่ทราบ เมื่อจบเพลงชุดของยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย  แล้ว . เพลงชุดใหม่ของขุนพลเพลงจากราชบุรี ที่ชื่อว่า "เพชร โพธาราม " ก็ดังขึ้น .,..ใช่แล้วครับ ...+++ " รักคนชื่อน้อย"...+++.ชื่อเดียวกับเจ้าสาวของงานนี้  นั่นเอง........๐๐๐๐๐.....................................................................................................................................................................................................++++++++...........
          เพลง "รักคนชื่อน้อย" ... ขึ้นต้นว่า ..."ผมหลงรักคนผู้หญิงชื่อน้อย  เฝ้ารัก  เฝ้าคอย  แต่น้อยไม่ยอมเห็นใจ  เมินหน้าหนีไม่มีเยื่อใย  ไม่แลเหลียว  ไม่ยอมเคียงใกล้ ...โอ้! ..ใจน้อยดำเหลือทน..+++"...เพลงนี้ผู้แต่ง คือ "ครูสุชาติ  เทียนทอง"..เพชร  โพธาราม ร้องเพลงไว้มาก . ที่ดังติดใจแฟนเพลงลูกทุ่งอีก  คือ เพลง .." ต.ช.ด. ขอร้อง" และเพลง " สุโขทัยระทม" ที่แต่งโดย "ครูจิ๋ว พิจิตร " (ซึ่งเป็นชาวอ่างทอง) ...+++...ระหว่างที่ฟังเพลงจากเสียงเครื่องไฟงานไหว้อยู่อย่างเพลิดเพลิน. น้าเล็กผู้ที่มีฝีมือเลิศรสด้านการทำขนม โดยเฉพาะขนมชั้น ก็เตรียมการหุงข้าวเหนียว  เพื่อทำ "เหนียวงานไหว้"  คุณยายหนูและพี่น้อยเจ้าสาวลงจากบ้านมาเพื่อจะช่วยทำ "หัวเหนียว" ทุกคนร้องห้ามบอกว่า. พี่น้อยไม่ต้องช่วยหรอก เจ้าสาวไม่ต้องช่วย เดี๋ยวจะเหนื่อย ให้ไปพักผ่อน . เจ้าสาวนี่ที่เชิงแสไม่ได้เรียกเจ้าสาวหรอกครับ เรียกว่า  "นางสาว" ฟังแล้วแปลกดี...การทำเหนียวงานแต่งงานหรืองานไหว้คราวนี้ ทุกคนที่มาช่วยทำครัวต่าง ช่วยกันนำ "สรวด" ซึ่งภาคกลางเรียกว่า "หวด" มาเป็นภาชนะในการนึ่งข้าวเหนียว . นับรวมแล้วถึง ๑๐ ใบ ซึ่งล้วนแต่เป็นสรวดดินเผาอย่างดีจากเกาะยอทั้งสิ้น. บริเวณที่นึ่งข้าวเหนียวก็อยู่ใกล้ๆ กับที่ตั้งวงกันขูดมะพร้าวนั่นเอง  น้าเล็กบอกว่าเมื่อนึ่งข้าวเหนียวเสร็จแล้ว ชั้นที่จะทำ "เหนียวหลบ" ต้องไปทำในครัวบนบ้าน . น้าเล็กดูจะระวังเรื่องความสะอาดของข้าวเหนียวเป็นพิเศษจริงๆ  แต่ที่สำคัญแม่บอกว่าเหตุที่ต้องหลบเหนียวกันบนบ้าน เพราะไม่อยากให้กะทิอยู่ใกล้ความร้อนหรือบริเวณที่มีแสงแดด . จึงต้องทำเหนียวหลบที่บนครัวซึ่งเป็นที่ร่ม ...ผมลืมบอกไปว่า คำว่า "เหนียวหลบ หรือ หลบเหนียว" ของบ้านเชิงแส นั้น กรุงเทพฯ เขาเรียกว่า "ข้าวเหนียวมูน" ...ซึ่งที่กรุงเทพฯ ร้านที่แพงและพอจะอร่อยก็มีร้าน " ก พานิช" " ถนนตะนาว ไม่ไกลศาลฎีกานัก ....+++..ในการทำเหนียวงานไหว้ไว้เลี้ยงแขกครั้งนี้ แม่รับทำ "หัวเหนียว" เพราะแม่มีฝีมือทำขนมอร่อยหลายชนิดขนม ยกตัวอย่าง เช่น ขนมถาด , ขนมเท่ดิบ , ขนมเท่สุก , และขนมมันโท้นึ่ง (ที่กรุงเทพฯ คือ ขนมมันสำปะหลังนึ่ง) ทุกชนิดที่กล่าวถึงนั้น ผมพยายามหาที่กรุงเทพฯ แล้ว . ไม่มีที่ไหนเท่าฝีมือแม่...! พูดตรงๆ นะครับ ขนาดว่าที่ "ร้านศิลปาชีพ ๙๐๔" ซึ่งมีบรรจุภัณฑ์ที่ดี และขนมมันนึ่งหลากสีสวย แต่รสชาติก็สู้มันโท้นึ่งฝีมือแม่ไม่ได้จริงๆ...เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะขนมของแม่ใช้น้ำตาลโตนด จึงทำให้รสหวานของขนมเป็นรสหวานนวล ไม่หวานแหลม นั่นเอง........๐๐๐๐๐๐๐๐๐......................................................
        (ขณะนี้มีข้อขัดข้องด้านการเผยแพร่ข้อความและภาพ  ผมพยายามแก้ไขหลายครั้งแล้ว ยังไม่สำเร็จ การเผยแพร่เพิ่มเติมใช้เวลานานมาก บางครั้งเพียง ๑ ย่อหน้า ต้องใช้เวลาถึง ๒ ชั่วโมง...สอบถามผู้รู้บางท่านบอกว่า เป็นเพราะข้อมูลมากเกินไปหรือเปล่า? ก็ จะรีบแก้ไขครับ ...จะให้ทันขันหมากเจ้าบ่าวพี่น้อย...เรื่องข้อขัดข้องในการเผยแพร่ข้อความนี้ ไม่รู้ว่า "บ่าวหมุน" แห่งบ้านเชิงแส,โคกพระ . จะช่วยผมได้หรือเปล่าก็ไม่รู้?...เพราะนี่ใช้ระบบ "3G"...แต่ที่เชิงแสนั้นมีแค่ 2G ...คือ "เคยจี กับ ปลาจี"..ครับผม.........๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐............................................................................................................................................................................................++++++++++++++++++................
            เมื่อคืนวันศุกร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ใครได้ดูข่าวในพระราชสำนักบ้างไม่ทราบ?   หากใครได้ดู ก็จะได้เห็นข่าวที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง นครศรีธรรมราช . และได้ทอดพระเนตร พันธ์ุข้าวพื้นเมือง ประมาณ ๓ สายพันธ์ุ  หนึ่งในนั้น มีพันธ์ุ   "ไข่มดริ้น" .รวมอยู่ด้วย ดูข่าวแล้วให้คิดถึงบ้านแม่ที่เชิงแส . ซึ่งขณะนี้ทุุ่งท้องนาแห่งบ้านเชิงแสไม่มีข้าวไข่มดลิ้นเสียแล้ว . จะมีก็แต่เรื่องราวที่ผมเล่าไว้ในบทที่ ๖ ...ช่วงนี้งานผมยุ่งมากจริงๆ ไม่ได้เขียนเล่าบ่อยนัก เว้นแต่มีเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ . ที่เกี่ยวพันกับบ้านเรา . สำหรับภาพต่างๆ ก็เพียงแต่เตรียมไว้ ไม่ได้นำมาลงให้ชมกัน .อดใจรอหน่อยครับ ...ขณะนี้เรื่องราวของเชิงแสบ้านแม่ที่ผมเขียนอยู่นี้ มีผูเข้าชมเกือบถึงหนึ่งหมื่นคนแล้ว ...+++...แต่ผมยังแก้ปัญหาเรื่องการพิมพ์ข้อความไม่ได้อยู่เหมือนเดิมครับ ...สงสัยจะต้องขอช่วย "พี่หลวงโชติ " เสียแล้ว  พี่หลวงโชติลูกลุงรุ่ง ช่วยผมได้หรือไม่ผมไม่รู้ แต่ "ช่วยจันทร์" ได้แน่ๆ เพราะมีนามสกุลว่า "ช่วยจันทร์" ...+++..................๐๐๐๐๐๐๐.......................................................................................................................................+.........................................................+++++++++++.........
           ใกล้ค่ำวันศุกร์ เมื่อวาน มีเหตุระเบิด "คาร์บอมบ์" !! ที่อำเภอเบตง ยะลา น่าเศร้าใจมากทีเดียวครับ พี่น้องไทยพุทธ และ ไทยมุสลิม ต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก .  "เบตง" หรือที่คนเชิงแสออกเสียงเป็น "เบะตง" อำเภอนี้เป็นถิ่นที่สงบสุขมานานแล้ว ไม่น่าจะเจอกับเหตุอย่างนี้เลย . ชาวเชิงแสบ้านเราไปทำการทำงานและมีบ้านอยู่ที่อำเภอเบตงหลายคน ญาติของผม คือ ลุงไสว แสงแก้ว และครอบครัวไปตั้งหลักปักฐานกันอยู่ที่เบตง อยู่นานหลายสิบปี . ผมไปเบตงครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๔ พ่อพาไปเยี่ยมพี่ปรีชาพี่ชายคนที่ ๒ . เบตงเป็นอำเภอใหญ่ที่น่าอยู่ มีลำคลองน้ำใสไหลเชี่ยวผ่านตัวเมือง  ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวจีน . เมื่อผมมีลูกสาว ปี ๒๕๔๔ อายุลูกได้ ๗ เดือน ผมและครอบครัวไปเยี่ยมแม่ที่พักอยู่กับน้องที่ตัวจังหวัดยะลาแล้ว ก็ไปเยี่ยมญาติที่เบตง จนพากันไปเที่ยวมาเลเซีย โดยมีพี่สุภาพลูกของลุงไสวนำเที่ยว. "เบตง" แห่งนี้เป็นอำเภอที่ผมระลึกถึงอยู่เสมอ .ปลายเดือนสิงหาคมปีนี้ผมก็มีโปรแกรมจะไปทำบุญที่อำเภอเบตง ...ถึงจะมีเหตุการร้ายแรงอย่างไร. ก็จะไปให้ได้ ...เราต้องไปให้กำลังใจกัน...ให้ทุกคนมีกำลังใจต่อสู้ และฝ่าฟันอุปสรรค..เราจะผ่านพ้นภัยให้ได้...+++..ขอให้พี่น้องไทยภาคใต้ จงปลอดภัย และมีกำลังใจต่อสู้ ...ผมให้กำลังใจครับ....++ ให้กำลังใจพี่น้องใต้ครั้งนี้ หากมีเวลา ก็อ่าน เชิงแสบ้านแม่ฯ บท "จารึกสังฆคุณสองแผ่นดิน" ก็ได้ครับ ...เพราะ พ่อท่านรื่น ชาวเชิงแสเคยมาสร้างวัดไว้ที่เบตง ....๐๐๐๐............................................................................................................................................................................................................+++++++++++++.............
                ช่วงนี้ทั้งทำงานคดี  และต้องเป็นประธานประชุมจัดระเบียบตลาดคลองหลอดรอบศาลฎีกา  ประชุมกับฝ่ายทหาร  ฝ่ายตำรวจ และฝ่าย กทม.  แทบทุกคืนตอนสองทุ่ม  ...งานจัดระเบียบเป็นไปได้ดีพอสมควร ขณะนี้ตกลงกับผู้ค้าทั้ง ๑,๐๐๖ ราย ได้เรียบร้อยแล้ว และมีการประเมินว่าเริ่มมีความปลอดภัยมากขึ้น . ผมจึงเข้าพื้นที่ริมคลองในเวลากลางคืนได้ งานค่อนข้างเสี่ยงทีเดียว ก็อย่างว่าแหละครับ . ตลาดนี้เป็นตลาดคลองหลอด ไม่ใช่ตลาดคลองคดสำคอแดงที่บ้านเรา งานจัดระเบียบย่อมเป็นงานยาก . ต้องใช้หลากหลายวิชา แต่ที่สำคัญต้องทำงานอย่างให้เกียรติกัน ทั้งผู้ร่วมงาน ที่เราได้ตั้ง "กองอำนวยการร่วม"  และต้องให้เกียรติผู้ค้าทุกคนด้วย เพราะส่วนใหญ่เป็นคนยากจน ผู้ค้าระดับแกนนำนั้นผมรู้จักแทบทุกคน .มีผู้เป็นห่วงเป็นใยผมอยู่พอควร มีอะไรก็ให้ข้อมูลอยู่เสมอ บางคนให้เงินมาเป็นหมื่น เพราะรู้ดีว่าทำงานอย่างนี้ต้องใช้เงินพิเศษมากจริงๆ มันเป็นงานนอกระบบ แต่อยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม . ท่านประธานศาลฎีกาก็มาเยี่ยมผมขณะที่ผมอยู่ในพื้นที่ . ท่านเมตตาผมมาเยี่ยมเยียนทักทายสารทุกข์สุกดิบสองครั้ง เป็นการส่วนตัว . เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ที่ผ่านมา เสร็จงานวันรพีแล้ว ท่านประธานศาลฎีกาชวนผมไปดูพื้นที่การก่อสร้างศาลฎีกาเฉลิมพระเกียรติที่กำลังสร้างอยู่นี้ ท่านประธานศาลฎีกาพูดขำๆ ว่า "โครงการนี้เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา แต่มีอุปสรรคมาก คงสร้างเสร็จในวาระ ๙๐ พรรษา" ขณะนี้ผมเริ่มเขียนเรื่องราวการก่อสร้างศาลฎีกาไว้ในลักษณะของจดหมายเหตุ. .......+++...ท่านที่สนใจให้  search  ค้นหาไปที่คำว่า " ศาลฎีกา ; สารานุกรมจดหมายเหตุ" ...+++...ตกลงว่างานแต่งของพี่น้อยผมยังเขียนค้างอยู่ ยังไม่ได้เขียนต่อเสียที่  มีเรื่องอื่นเข้ามาแทรกอยู่เรื่อยๆ .....ไม่ว่ากันนะครับ .................................๐๐๐๐๐๐๐............................................................................................................................................................................................+++++++++
            ช่วงนี้ที่กรุงเทพฯ ฝนตก. ผมไม่สบายเป็นไข้หวัด เมื่อเป็นหวัดอย่างนี้ ก็พานให้คิดถึงบ้านแม่ที่เชิงแส. คือ คิดถึงลูกอมชนิดหนึ่ง ผมเรียกว่า "ลูกอมหวัด" ซึ่งผมสันนิษฐานว่า ลูกอมหวัดนี้น่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของ "ลูกอมฮอลล์" เพราะรสชาติคล้ายใกล้เคียงกัน  ลูกอมหวัดมาถึงบ้านเชิงแสเมื่อใดผมไม่ทราบ และคงจะไม่มีใครได้บันทึกไว้ ผมรู้แต่ว่าเงินสลึงหนึ่งก็ซื้อลูกอมหวัดได้สามสี่เม็ด . ที่เรียกว่าลูกอมหวัดนั้นน่าจะมาจากสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ . แต่ถึงจะไม่เจ็บคอก็อมได้ ตามธรรมดาเม็ดหนึ่งก็อมได้คนเดียว . แต่ที่เชิงแสผมเคยเห็นเด็กๆบางคนแบ่งกันอม ก็มีเหมือนกัน คนที่อมก่อนก็รีบๆอมรีบดูด คนที่อมทีหลังก็ยืนรอ . แต่ถ้ามาทันเวลาก่อนที่เจ้าของเขาจะเอาใส่ปาก ก็ขอได้ เจ้าของใจดีกัดแบ่งครึ่งให้ ได้แบ่งกันอม . ชีวิตเด็กบ้านนอกเป็นอยู่กันอย่างนี้. ครั้งหนึ่งพี่ละอองลูกสาวคนโตของป้าเชย ถูกเบอร์ ๒ บาท จึงซื้อลูกอมหวัดถุงใหญ่มาเลี้ยงเพื่อนบ้านที่มาแสดงความยินดี . ผมก็ไปแสดงความยินดีด้วย จึงได้ลูกอมหวัดมา ๒ เม็ด , ลูกอมหวัดที่บ้านเชิงแสมีเพื่อนลูกอมที่สนิท ชื่อว่า "ลูกอมเนย" ....ขณะนี้ที่เชิงแสร้านไหนยังขายลูกอมหวัดและลูกอมเนยอยู่บ้างครับ???..........................๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐..............................................................................................................................................................................................++++++++++++
              เมื่อวาน...ผมเปิด Fb.ของตัวเองดูข้อมูลครั้งแรกในรอบสามเดือน  ต้องขออภัยที่ไม่ได้รับใครเป็นเพื่อนเลย  แต่ขอให้ทราบนะครับว่า. ผมรับเป็นเพื่อนทุกคน.,...ดีใจมากที่มีเพื่อนจากเชิงแสคนหนึ่งได้อ่านเรื่องเชิงแสบ้านแม่. นอกจากจะดีใจแล้วก็ให้รู้สึกเขินๆ ปนๆกับกังวลว่าจะเขียนไม่ดี., จะพยายามเขียนให้ดีครับ  เพื่อจะได้คืนความสุขให้พี่น้องชาวเชิงแส ชาวระโนด และชาวสงขล ตลอดจนผู้อ่านทุกท่าน .,++++...เพื่อนจากเชิงแสที่ผมกล่าวถึงนี้ เธอชื่อว่า "สุคนธ์" . ซึ่งทั้งบ้านเชิงแสบ้านเกิดผมมีคนชื่อสุคนธ์อยู่สามคน .สวยๆทุกคน บ้านของสุคนธ์ตั้งอยู่กลางบ้านใหญ่ทางไปริมคลอง ,ละแวกนั้นมีบ้านญาติของแม่สองบ้าน คือบ้านของแปะชม จีระโร พี่ชายแม่ และบ้านของป้าฉีด รัตนวิไล (ป้าฉีดเป็นลูกก๋งยกซึ่งเป็นพี่ชายของตาผม) บ้านของสุคนธ์เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง เสาปูน หันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตกนั้นมีประตูเล็กๆ แต่ไม่มีบันได.,+++ ..คนบ้านเชิงแสมีบ้านลักษณะอย่างนี้อยู่หลายหลัง .,กล่าวถึงชื่อคนที่ซ้ำกันแล้ว เชิงแสบ้านแม่ของผม มีคนที่ชื่อซ้ำกันมากที่สุด คือ ชื่อว่า "เนี่ยว" เช่น ., ยกเนี่ยว , บ้วนเนี่ยว , รักเนี่ยว, เฉ้งเนี่ยว , บุญเนี่ยว , วัดเนี่ยว , อั้นเนี่ยว ,และ  เนี่ยว (เฉยๆ) .   ,นอกจากนั้น คือชื่อว่า "เลี่ยน"  เช่น พี่ๆ น้องๆ ยายของผม ซึ่งมีทั้ง .,เลี่ยน , ขุ้ยเลี่ยน , และ คุณยายเลียนแห้ง เป็นต้น) .............๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐.................................................................................................................................................................................++++++++++++++
              (ดูเหมือนว่า...ผมจะแก้ปัญหาเรื่องการอัพเดตข้อมูลได้แล้ว. ..จึงขอต่อเรื่องงานแต่งพี่น้อยนะครับ)+++...........๐๐๐๐๐๐๐๐๐............................................................................................................................................................................................++++++++++++++
                แม่และน้าเล็กเตรียม  " ผัดหัวเหนียว " อย่างเต็มฝีมือ. เครื่องหัวเหนียวงานไหว้ที่แม่จะทำในวันนี้มีพร้อมอยู่แล้วที่ในถาด. ดูเรียงรายไปหมดใกล้ๆตัวของแม่ ทั้งมะพร้าวขูดขาวสะอาดที่พูนเต็มถาด, ถั่วใต้ดินคั่วตำพอบุบในถาดถัดไป ถั่วใต้ดินตามคำเรียกของชาวเชิงแส ก็คือถั่วลิสงนั่นเอง,เม็ดหัวครกเผาแกะเจียะออกแล้ววางไว้ในถาดใกล้กัน, และที่สำคัญน้ำตาลโตนดสีนวลหอม ในหม้อเคลือบที่แม่กำลังตักใส่กระทะบนอั้งโล่เตาถ่าน, ได้ยินแม่พูดกับน้าเล็กว่า " น้ำผึ้งโหนดเจ้านี้หอมจัง ". น้าเล็กจึงบอกแม่ว่า " ฉานให้ยายหนูสั่งมาจากโคกพระ น้าอบเหอ แลตะ เป็นน้ำผึ้งใหม่ทั้งเพ้น ".เมื่อน้ำผึ้งโหนดเดือด ปุด ๆ ได้ที่แล้ว. แม่ใส่ถั่วลิสงและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ลงไปผัดก่อน จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไป. แม่ใช้ไม้พายผัดหัวเหนียวจนเสร็จ ในเวลาไล่เลี่ยกับที่น้าเอื้อนให้พวกแม่ครัวนำข้าวเหนียวสองกะละมังมาถึงในครัว. น้าเล็กจึงเตรียมทำ "เหนียวหลบ" น้าเล็กแบ่งข้าวเหนียวใส่กะละมังขนาดกลาง นำหัวกะทิที่ใส่เกลือไว้แล้ว ราดลงในข้าวเหนียวพอชุ่ม ใช้ไม้พายคู่มือที่เตรียมมาพลิกคนกลับให้ข้าวเหนียวเข้ากับหัวกะทิ. คงเป็นเพราะอย่างนี้กระมังครับ ที่เชิงแสจึงเรียกว่า " เหนียวหลบ" . สังเกตดู จะเห็นเคล็ดลับในการทำเหนียวมูนว่า หลังจากมูนเหนียวหรือหลบเหนียวอย่างที่เล่าแล้ว น้าเล็กจะนำกะละมังมาครอบอบอีกขั้นตอนหนึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย....+++...เมื่อทั้งเหนียวหลบและหัวเหนียวเสร็จเรียบร้อยแล้ว. แม่และน้าเล็กก็ตักมาให้คนเถ้าคนแก่ทานกันก่อน. ป้าลับที่มีฝีมือทำขนม "ม่อชี่" กล่าวชมว่า "ทำเหนียวหลบได้หรอยจัง"..................๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐......................................................................................................................................................................................+++++++++++
                 ในวันงานที่ขบวนเรือขันหมากเจ้าบ่าวมาถึง. น้าเอื้อนหัวหน้าแม่ครัวได้เพิ่มกับข้าวงานแต่งงานพี่น้อยขึ้นอีกสองอย่าง. คือ  "ผัดหมี่" และ " หนางหมู". ซึ่งสำรับกับข้าวของชาวเชิงแสทั้งสองประเภทนี้ผมขอข้ามไป จะไม่เล่าถึงรายละเอียดนะครับ....งานไหว้ที่เชิงแสบ้านแม่ของผม. ยังมีพิธีกรรมอีกสองอย่างที่ผมจะต้องกล่าวถึง ก็คือ ..."พีธีเวียนสาดเวียนหมอน"  และ " พีธีรับไหว้" โดยพีธีเวียนสาดเวียนหมอนนั้น ทำในคืนส่งตัวเจ้าสาว . ส่วนพีธีรับไหว้มีในคืนที่สองหรือคืนที่สามก็ได้. สำหรับงานแต่งพี่น้อย ในเวลาหัวค่ำของคืนที่สามคุณป้าของพี่น้อย. ได้นำพี่น้อยและเจ้าบ่าวมาที่บ้านแม่. เมื่อมาถึงคุณป้าพี่น้อยร้องเรียกพ่อและแม่ว่า " น้าเพียร  น้าอบ เฮ. อี้พาลูกหลานมาไหว้ขอศีลขอพร " พ่อบอกว่า "ขึ้นมาตะ วัง. วัง. อีัพลัดหัวได."...แม่ว่า "อี้พลัดไซร้ ฉานเอาเกียงมารับแล้ว".................๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐.............................................................................................................................................................................................++++++++++++
               ขณะที่คุณป้าพี่น้อย พี่สมปอง และพี่น้อย ขึ้นมาเช็ดเท้าที่นอกชาน ผมก็ปูเสื่อทั้งสองผืนที่ระเบียงบ้านเสร็จพอดี.  พ่อกับแม่นั่งคู่กันบนเสื่อเพื่อทำพิธีรับไหว้ โดยนั่งหันหน้าออกไปทางนอกชาน. ส่วนพี่น้อยและพี่สมปองนั่งคู่กันตรงข้ามกับพ่อและแม่. คู่สมรสต่างประคอง "อยอง" ซึ่งเป็นพานขนาดเล็กที่ใส่หมากพลูมาวางไว้หน้าพ่อและแม่  แล้วก็ไหว้กราบ จากนั้นเปิดผ้าคลุมอยองออก แล้วส่งให้พ่อ.  พ่อรับแล้ว เก็บหมากพลูไว้ พร้อมกับให้พรว่า " การที่ได้ไหว้ ได้แต่งกันนี้ ถือว่าทำบุญมาด้วยกัน จึงได้พบกัน ได้แต่งงานอยู่กินกัน ให้ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม พระธรรมจะได้คุ้มครองเธอทั้งสอง ขอให้มีความรักต่อกันให้ยั่งให้ยืน ถือไม้เท้ายอดทอง ตะบองยอดเพชร..." พ่อให้ศีลให้พรพี่ทั้งสองเสร็จแล้ว แม่ก็นำเงิน ใบสิบสองใบสีน้ำตาลใหม่ๆ ใส่ในอยองเป็นการรับไหว้ ...จากนั้นพิธีสำคัญ สำหรับผมก็มาถึง คือคุณป้าของพี่น้อยให้ผมไปเอาจานมาใส่ขนมโรง. ผมบอกว่า เตรียมจานไว้ใส่ขนมตั้งแต่เมื่อวานแล้วได้ความจากที่ผู้ใหญ่พูดกันว่า คู่บ่าวสาวจะอยู่ที่เชิงแสประมาณ ๗ วัน พี่น้อยก็จะไปอยู่กับครอบครัวของเจ้าบ่าวที่ตลาดระโนด. ไปเปิดร้านตัดเสื้อที่นั่น เพราะเจ้าบ่าวเป็นตำรวจนายสิบโทประจำที่โรงพักอำเภอระโนด นั่นเอง.............๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐...........................................................................................................................................................................................++++++++++
             ผมเล่ามาถึงตอนนี้. ก็ขอคุยโม้เสียเลยนะครับว่า ลูกสาวบ้านเชิงแสนั้น เป็นหญิงที่งามกิริยา การศึกษาอบรมดี มีความขยัน เป็นแม่บ้านแม่เรือน. เท่าที่จำได้ทั้งสาวๆรุ่นพี่ๆของผม และรุ่นผมสวยๆ กันทั้งนั้น . ยกตัวอย่างก็ได้  เป็นตัวอย่างเรียงตามอายุนะครับ  คนแรกเลย บ้านหัวนอน , "พี่อุบล" ลูกสาวครูวิทย์ครูของผม ,คนต่อมา บ้านหน้าวัดกลาง พี่ๆลูกคุณครูแอบ อย่าง "พี่พรทิพย์" ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ดุษฎี ,คนต่อไป บ้านตกวัดกลาง รุ่นเดียวกับผม เธอชื่อ "จรรยา" ชื่อเล่นว่า (นึกไม่ออกเสียแล้ว..) ,คนต่อไปบ้านใหญ๋ หย่อมบ้านผม ก็มี "พี่ถวิล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น รัชนก  , คนต่อไป " เกษร" ญาติของผม ,ต่อไปที่บ้านสวนตีน ก็มีสาวๆ หลายคน งามๆทั้งนั้น , ต่อไป กลุ่มบ้านคลองคด มี "พี่นิภา และ พี่พิมพ์" ....เรียกว่า กองเอ จริงๆ......ใครที่ไม่มีชื่อ ขอให้เติมเอาเอง ก็แล้วกันครับ.............๐๐๐๐๐๐..................................................................................................................................................................................................++++++++++++
           
                 "ต้มเค็มลูกคลัก"

                  สำรับบ้านนาอีกอย่างหนึ่งสำหรับบ้านทุ่งอย่างเชิงแส  คือ  "ต้มเค็มลูกคลัก" ...ต้มเค็มลูกคลักนั้นเป็นแกงที่ทำกินกันตามขนำปลายนา โดยหลังจากเก็บข้าวเสร็จแล้ว น้ำในนาเริ่มแห้งขอดลง. ที่ลุ่มในนาเริ่มเป็นปลักน้ำระหว่างซังข้าว ปลาหมอ, ปลากระดี่ , ปลาช่อนตัวเล็ก, รวมถึงปลาดุกนาตัวเล็กๆ เริ่มดิ้นไหลตามร่องน้ำระหว่างกอซังข้าวแห้ง . ปลาเล็กปลาน้อยเหล่านี้  คลักรวมกันตามแอ่งน้ำขอด . กลิ่นทุ่งยามนี้หอมซังข้าวแห้ง ผสมรากกอข้าว และกลิ่นน้ำขอด เป็นกลิ่นหอมทุ่งเชิงแส เมื่อเริ่มเข้าเดือนเมษายน . ปลาที่เป็นลูกคลักตามท้องนามีอยู่ทั่วไป จะเป็นนาของใครก็วิดปลาจับปลาลูกคลักได้ โดยเจ้าของนาไม่ห้ามไม่หวง.....+++....วันนี้..หลังจากปล่อยวัวที่สวนตีนหมู่บ้านแล้ว. ฝูงวัวเริ่มเล็มหญ้าไปทางทุ่งด้านทิศตะวันออกของสวนปู่ปุ่นย่าดำ. ผมและเพื่อนๆ จึงชวนกันไปเล่นที่สวนของลุงชอนป้าป้อง...."ลุงชอนและป้าป้อง"...สองท่านนี้ปลูกบ้านอยู่ที่สวนตีนด้านทิศเหนือของสระข่อย. สวนของลุงด้านทิศใต้ติดกับสวนลุงเซ้งป้าเตี้ยง . บริเวณสวนของลุงชอนร่มรื่นมากเพราะมีต้นโพธิ์เลใหญ่เป็นแถวกั้นเป็นแดนเป็นรั้วทางทิศตะวันตกของบ้าน. ใต้ร่มโพธิ์เลที่ร่มนั้นมีแคร่ไม้กระดานให้ทุกคนได้นั่งได้นอนเล่นกัน...เมื่อผมไปถึงมีลุงๆหลายคนนั่งอยู่ที่แคร่ไม้. ลุงคนหนึ่งร้องเรียกผมว่า .."นิกร. มาพอดี  มา  มา ช่วย " จุดหลัง " ให้ลุงที  จุดให้หลายหนวยนะ คันหลังอยู่หลายวันแล้ว  เดี๋ยวหวันเที่ยงจะต้มเค็มลูกคลักให้กินเล่นกัน"...
             
               ผมนั่งลงจุดหลังให้ลุง. ลุงบอกว่า "ได้แรงดีจัง"...ระหว่างนั้นมดแดงสองสามตัวไต่ลงมาที่โคนต้นโพธิ์เล . ลุงอีกคนเห็นเข้าจึงแกล้งถามลุงเล่นๆว่า "รอยจุดที่หลังพันนี้ ...เอามดแดงบีบใส่ได้ไหม้พี่หลวง? "...ลุงร้องเอ็ดตะโรว่า " เฮ้อ!..ไม่ได้ ไม่ได้  ห้ามหล็อกเหล็ก  อย่าหล็อกเหล็ก ..แสบหลัง" แล้วเสียงเฮฮาที่แคร่ก็ดังขึ้นอย่างสนุกสนาน ...การพูดเล่นหยอกล้อกันตามประสาระหว่างผู้ใหญ่เช่นนี้ ทำให้พวกเด็กๆ ครื้นเครงไปด้วยเช่นกัน.+++.ระหว่างที่นั่งให้ผม "จุดหลัง" ให้อย่างได้แรงอยู่นั้น. ลุงบอกว่าวันนี้พวกบ่าวๆเขาไปวิดลูกคลักกัน เดี่ยวจะพาผมไปหาไม้แห้งมาทำไม้ฟืน ต้มเค็มลูกคลักให้กินเล่นๆ....เมื่อจุดหลังให้ลุงเสร็จแล้ว ลุงก็ชวนผมไปหากิ่งไม้แห้งมาทำฟืน. ...+++...บริเวณสวนลุงชอนร่มรื่นดีมาก รอบบ้านพื้นเย็นนุ่มเท้า. มีดอกโพธิ์เลทั้งสีม่วงและสีเหลืองร่วงอยู่ตามพื้นดิน. ที่ใต้ถุนบ้านมีแม่ไก่สองครอกคุ้ยเขี่ยอาหารให้ลูกมันกิน. ข้างนอกชานและบันไดลุงและป้าปลูกถั่วพูไว้สี่ห้าค้าง ถัดไปเป็นค้างถั่วฝักยาวที่มีฝักเป็นสีม่วงห้อยงอดูสวยงาม. ลุงและป้าดูแลอย่างดีนัก ถั่วไม่ "ขึ้นครอม" เลย ด้านสวนทิศตะวันออกลุงยกร่องปลูกพริกบ้าง แตงไทยบ้าง น้ำเต้าเทศบ้าง . เลยไปหน่อยหนึ่งก็เป็นร่องยาสูบเขียวสวย . จากนั้นไปอีกเป็นดงไม้หนาตา ผมเห็นควันขึ้นกรุ่นอยู่ที่ยอดดงไม้. จึงถามลุงว่า "ใครทำอ้ายไหรเหอลุง? "  ลุงจุ๊ปากเบาๆ แล้วบอกว่า " เด็กๆ อย่ารู้เลย "...เมื่อลุงพูดเช่นนั้น ก็ทำให้ผมยิ่งอยากรู้...อยากจะรู้เสียจริงๆ......

                เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ ผมก็เห็นน้าหลวงกำลังต้มน้ำวิเศษอยู่พอดี. น้ำเหล้าเถื่อนสีเหลืองใสแจ๋ว  หยดจากรางอลูมิเนียมเล็กๆ ลงในแก้วรอง น้าหลวงพูดกับผมว่า ..." ลูกๆ ต้องเรียนกันหลายคน นิกรเหอ ทำนาขายข้าวอย่างเดียวอยู่ไม่ได้.."  แล้วน้าหลวงก็ล้อผมเล่นว่า  .." มึก สัก เคือก มั้ย?.." ผมตอบว่า .."ไม่เอา  เดี๋ยวพ่อรู้" ...ก็จริงอย่างที่น้าหลวงว่านั่นแหละ ชาวบ้านเชิงแสที่ต้องส่งลูกๆ ไปเรียนหนังสือที่ในเมืองนั้น  ต้องทำนากันหลังขดหลังแข็ง กว่าจะหาเงินส่งให้ลูกๆได้เล่าเรียนกัน...บางครอบครัวถึงกับต้องเรียนคนหนึ่ง. ให้ทำนาคนหนึ่งสลับกัน..เป็นอย่างนี้ก็มี

               ลุงนำผมไปเก็บกิ่งไม้แห้งและงวงโหนดที่บริเวณที่สวนของน้าไข่. น้าไข่มีสวนอยู่ทางทิศเหนือของสระน้ำลุงชอน.น้ามีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อว่า .."บ่าวเนือย" ...ซึ่งน่าจะรุ่นพี่ผมสักสองสามปี. ชื่อนี้เป็นชื่อเล่น น่าจะเรียกกันเพราะบ่าวร่างผอมสูง บ่าวเนือยมีชื่อจริงว่าอะไร ผมไม่ทราบจริงๆ ...+++...ใช้เวลาไม่นานนัก ผมกับลุงก็ได้กิ่งไม้แห้งและงวงโหนดแห้งมาคนละหอบ. เมือมาถึงบ้านสวนของลุงชอนแล้ว ลุงก็ "ดับก้อนเส้า" ทำเป็นเตาที่ลานดินใต้ร่มโพธิ์เล  เตรียมต้มเค็มลูกคลักกัน

            ครั้นดับก้อนเส้าทำเตาเสร็จป้าป้องก็นำหม้อพร้อมหัวหอม เกลือ และขมิ้น  ลงมาจากบ้าน. ป้าว่า "ต้มเสีย  บนเรินก็ได้ ไม่พักมาตั้งเตาข้างเริน " ลุงๆ ว่า "ตรงนี้แหละดีแล้ว เดี๋ยวจะได้ หมกหัวมันกันต่อ" ...

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๑ จากเชิงแส,สงขลา...ตามรอยเสด็จฯ รัชกาลที่ ๕ ไปยุโรป


บทที่ ๑๑ "จากเชิงแส,สงขลา...ตามรอยเสด็จฯ รัชกาลที่ ๕ ไปยุโรป"


     คงจะไม่เคยมีใครได้บันทึกไว้กระมังว่า มิสเตอร์คนใดเป็นฝรั่งคนแรกที่มาถึงบ้านเชิงแส แต่ในความจำของผมนั้นผมจำได้ว่า เมื่อผมยังเป็นเด็กอายุประมาณไม่เกิน ๑๐ ขวบ มีฝรั่งคนหนึ่งมาที่บ้านครูพร้อม น้อยเสงี่ยม ชาวบ้านบางคนพูดกันถึงเรื่องนี้ ผมเล่นอยู่ที่ใต้ถุนบ้าน จึงได้เดินไปที่บ้านครูพร้อม ไปดูฝรั่ง ขณะที่ผมยืนอยู่ที่เชิงบันไดของบ้านครูพร้อม ผมมองขึ้นไปก็เห็นฝรั่งคนนั้น เป็นชายร่างสูงค่อนข้างผอม ผิวขาว ผมสีออกแดง ฝรั่งคนนี้ไม่ทราบว่าชื่ออะไร ผมเข้าใจว่าที่ได้มาบ้านของครูพร้อมก็น่าจะมากับครูปราโมทย์ น้อยเสงี่ยม บุตรชายครูพร้อม หรือไม่ก็มากับลูกหลานท่านใดท่านหนึ่งของครูพร้อม หรืออาจจะมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ก็อาจเป็นได้...ดังนั้น ในประวัติแห่งความจำของผม จึงต้องทึกทักถือเอาไว้ก่อนว่า มิสเตอร์ผมแดงแห่งบ้านครูพร้อมที่ผมเห็นในวันนั้น เป็นฝรั่งคนแรกที่มาถึงบ้านเชิงแส
     โดยส่วนตัวของผม อาจจะเป็นเพราะเรียนมาทางด้านกฎหมาย ผมจึงมีความสนใจค่อนข้างมากในการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการศาลไทย และเมื่อผมเรียนจบมีงานมีการทำแล้ว ผมจึงเริ่มสะสมหนังสือเก่าและสะสมภาพพระราชกรณียกิจด้านการศาลทั้งที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยและตีพิมพ์ที่ต่างประเทศ ตลอดจนได้ตามรอยเสด็จฯ พระองค์ท่านไปที่ศาลฎีกาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งที่ศาลนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เคยประทับบัลลังก์ทอดพระเนตรการพิจารณาคดีอาญา ปัจจุบันนี้อาคารศาลฎีกาของสิงคโปร์หลังดังที่ผมกล่าวถึงก็ยังมีอยู่...ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูประบบราชการไทยนั้น ในปี ๒๔๑๓ และปี ๒๔๑๔ พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรงานบริหารราชการของต่างประเทศมาก่อน รวม ๓ ประเทศ คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ อินเดีย ขณะนั้นสิงคโปร์และอินเดียอยูใต้การปกครองของอังกฤษ ส่วนอินโดฯหรือชวาอยู่ใต้การปกครองของฮอลันดา ผมจะกล่าวเฉพาะเรื่องการศาลนะครับ เรื่องกระทรวงอื่นผมไม่มีความรู้มากนักก็จะไม่กล่าวถึง กลัวจะผิด...เดี๋ยวเสียชื่อคนเชิงแสหมด เรื่องศาลและกระบวนการยุติธรรมนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ความสำคัญไม่น้อยเลย ดังจะเห็นได้จากพระองค์ทอดพระเนตรทั้งศาลและเรือนจำที่สิงคโปร์และที่ปัตตาเวีย ชวา ต่อมาในปี ๒๔๒๕ ก็โปรดให้เจ้าพระยาสุริยวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นแม่กองสร้าง "ศาลหลวง" เพื่อรวบรวมศาลทุกศาลที่กระจายสังกัดกรมต่างๆ ในพระนคร และรวบรามกฎหมายทั้งหมดไว้แห่งเดียวกัน หลังจากนั้นโปรดให้ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โดยทรงนำแบบมาจาก "Law school" ของประเทศอียิปต์ เมื่อมีนักกฎหมายสำเร็จเนติบัณฑิตแล้ว รัชกาลที่ ๕ ก็มีพระมหากรุณาธิคุณส่งเนติบัณฑิตไปเรียนต่อที่ประเทผศในทวีปยุโรป ปีละ ๒ คน ชาวสงขลาคนแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม และได้ร่วมเดินทางไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ไปในคราวที่พระองค์เสด็จฯ ประเทศในยุโรปเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ก็คือ "นายจิตร ณ สงขลา" ซึ่งในกาลาวลาต่อมาท่านได้รับการสถาปนาให้เป็น "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร" หรือที่ทราบกับในนาม "เจ้าพระยาคนสุดท้ายของสยามประเทศ"


(พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ครุยปริญญากฎหมายของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๕๐)


(เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ถ่ายภาพเมื่อได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าพระยา)


(ศาลจังหวัดสงขลา)



(บ้านและศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชของตระกูล ณ สงขลา ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา)

     (วันนี้...วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๗ ผมกลับจากทำบุญทอดผ้าป่าหาทุนซ่อมแซมเมรุที่ป่าช้าวัดเชิงแสใต้ ออกจากเชิงแสเมื่อเวลา ๑๔ นาฬิกา และโดยสารเครื่องบินที่สนามบินนานาชาติหาดใหญ่กลับมาถึงบ้านที่กรุงเทพฯ ประมาณ ๓ ทุ่ม กลับบ้านเกิดในคราวนี้รู้สึกซาบซึ้งใจ เพราะได้พบกับชาวเชิงแสและลูกหลานของชาวบ้านเชิงแสเป็นจำนวนมากที่ต่างก็มาร่วมกันทำบุญงานนี้ อดไม่ได้จริงๆ และจะเสียดายมาก หากไม่รีบโพสต์ไว้...อยากจะเล่าไว้ ณ ที่นี้เป็นเรื่องแรกว่า เมื่อได้ไหว้้น้าขาว สุวพนาวิวัฒน์ แล้ว ก็ให้คิดถึงแม่ เพราะน้าขาวกับแม่เกิดปีเดียวกันและมีความสนิทสนมกันมากทีเดียว...อีกครอบครัวหนึ่งที่ต้องขอกล่าวไว้...คือ ครอบครัวของคุณครูชื่น เมืองศรี คุณครูปราโมทย์ น้อยเสงี่ยม ตลอดจนพี่ๆผู้หญิงซึ่งเป็นหลานของคุณยายลั่นเนี่ยว คุณยายลั่นเนี่ยวนั้นมีพระคุณต่อผมมาก ท่านเป็นหัวหน้าทีมหมอตำแยทำคลอดผม แม่เล่าว่า ทันทีที่ผมคลอดคุณยายลั่นเนี่ยวก็บอกแม่ว่า "อบเหอ ลูกเกิดยามดี เลี้ยงให้ดีตะ จะได้พึ่ง" ดังนั้น เมื่อผมเป็นนาคเตรียมบวชเณร แม่จึงให้น้าหลวงชิ้น เครือแก้ว พาผมไปไหว้คุณยาย...เรื่องต่อมาที่ขอกล่าวถึง คือ งานบุญผ้าป่าครั้งนี้ผมได้เห็นพุ่มผ้าป่าเป็นจำนวนมากถึง ๔๑ พุ่ม เต็มโต๊ะแถวยาวใน "หลาเปลว" ที่ตั้งไว้ทั้งสองแถว เท่าที่ผมสังเกตจับความรู้สึกพบว่า หลวงพี่ปรีชาและชาวเชิงแสดูจะมีความภูมิใจในความสำเร็จของงานบุญนี้อยู่ไม่น้อย..ผมพูดกับหลวงพี่ว่า "เมรุนี้เป็นของแปลกนะครับ หลวงพี่ ชั้นที่จะสร้างหรือจะซ่อม เรามาร่วมสร้างและซ่อมได้ด้วยตัวเอง แต่หากถึงคราวจะใช้ กลับมาเองไม่ได้ ต้องให้คนอื่นช่วยพามา" หลวงพี่บอกว่า "จริงของน้องบ่าว แต่ตอนนี้พี่หลวงคิดว่า คนยังอยากสร้างและซ่อมเมรุ มากกว่าอยากใช้" ...เรื่องต่อมา คือ ในตอนเย็นของวันที่ ๑๑ ก่อนพิธีสมโภชผ้าป่า ผมได้รับความกรุณาจากน้าวาด เสถียรรังสฤษดิ์ และพี่หลวงเผียน รวมทั้งชาวเชิงแสหลายคน ช่วยกันทำแผนที่ "หนองน้ำ" ในเขตทุ่งเชิงแส และแล้วเย็นวันนั้นสมยศ ผ่องศรี ก็ทำหน้าที่เป็นสารถีโดยมีพี่หลวงเผียนให้เกียรติเป็นเนวิเกเตอร์(nevigagor)นำผมไปสำรวจหนองน้ำทุ่งเชิงแสจนถึงที่ "ทุ่งเยา" หรือที่แผนที่โบราณเขียนว่า "วัดทเย้า" ผมจึงทำแผนที่คร่าวๆไว้ดังนี้...หนองน้ำทุ่งเชิงแสด้านทิศใต้ถนนสาย "เชิงแส...เจดีย์งาม" มีดังนี้ คือ...หนองใหญ่ , หนองท่อม , หนองแห้ว , หนองพานทอง , หนองนกพลัด , หนองกกซุง , หนองพังกาน , หนองสามจีน , หนองมน,....๐๐๐...ช่วงเวลาที่อยู่ที่เชิงแสบ้านแม่ ผมได้ตระเวนเก็บภาพต่างๆ ไว้หลายภาพ จึงขอประมวลมาไว้ชั่วคราวก่อนจะเดินทางไปราชการที่ประเทศในแถบยุโรป)

ภาพท่ี่ ๑

(คุณยายลั่นเนี่ยว เมืองศรี หมอตำแยผู้ที่พูดทำนายถึงอนาคตของผม)

ภาพท่ี่ ๒

(หนังสือบุดขาวเรื่อง "สินนุราชคำกาพย์" ฉบับวัดเชิงแสใต้ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อรัชสมัยรัชกาลที่ ๓)

ภาพท่ี่ ๓

(หน้าปลายของสินนุราชคำกาพย์ ผู้แต่งขอให้ผู้ที่อ่านหนังสือระวังอย่าทำให้ "น้ำหมากตกถูกหนังสือ ย่อยยับอับปรา")

ภาพท่ี่ ๔

(เนื้อเรื่องบางส่วนของสินนุราชคำกาพย์)

ภาพท่ี่ ๕

(หนังสือบุดขาวเรื่องโสนน้อยเรือนงาม หนังสือเรื่องนี้มีอยู่ที่วัดเชิงแสใต้และที่วัดอื่น ในภาพเป็นชุดหนังสือจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

ภาพท่ี่ ๖

(หนังสือบุดขาวเรื่องพระมโหสถฉบับวัดเชิงแสใต้)

ภาพท่ี่ ๗

(กำแพงวัดกลางบ้านเชิงแสซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยการนำของพระครูวิบูลย์ปรีชาญาณ หรือ พ่อท่านรื่น โชติรโส ชาวเชิงแสที่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบาลิง รัฐไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย)

ภาพท่ี่ ๘

(สภาพสระน้ำของ "วัดเยา" กลางทุ่งนาเชิงแสในปัจจุบัน)

ภาพท่ี่ ๙

(จากวัดเยาในอดีตปัจจุบันมีเพียงศาลพระภูมิที่ผู้ครอบครองที่ดินนำมาตั้งไว้)

ภาพท่ี่ ๑๐

(แผ่นอิฐริมสระน้ำของวัดเยา สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถของวัดเยาในอดีต)

ภาพท่ี่ ๑๑

(วัดเยา ซึ่งในแผนภาพกัลปนาวัดพระโคะ พ.ศ. ๒๒๒๓ เรียกว่า "วัดทเย้า" อันมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเขารัดปูนและด้านทิศตะวันตกของบ้านโพ โดยแผนที่โบราณใช้คำว่า "เข้ารัชปูน" และ "บานโภ")

ภาพท่ี่ ๑๒

(.........)

ภาพท่ี่ ๑๓

(ภาพที่ ๑๒ และ ๑๓ ทุ่งนาของชาวเชิงแสบริเวณหัว "สะพานยาว"ด้านทิศตะวันออก เห็นทุ่งข้าวเหมือนผืนพรมเขียวงาม ในยามเย็นวันที่ ๑๑ เม.ย. ๒๕๕๗ ขณะที่บิ้งนาใกล้กันกำลังรอการไถ)

ภาพท่ี่ ๑๔

(.....)

ภาพท่ี่ ๑๕

(ภาพที่ ๑๔ เช้าวันที่ ๑๒ เมษายน ผมถ่ายภาพพระอุโบสถหลังเดิมของวัดเอกไว้ ศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่ที่ผมบวชเมื่อปี ๒๕๓๗.,ส่วนภาพที่ ๑๕ เป็นความงามของพระอุโบสถหลังใหม่)

ภาพท่ี่ ๑๖

(กลับมาที่วัดกลางอีกครั้งหนึ่ง ผมรอแสงแดดเช้าที่พอเหมาะแล้วจึงบันทึกภาพของกุฏิพระที่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่งามที่สุดในประเทศ สังเกตให้ดีจะเห็น "ตีนเสา" ปูน รองรับเสาไม้ไว้อย่างมั่นคง ,เดิมกุฏินี้สูงประมาณ ๑.๕ เมตร ภายหลังมีการถมดินที่ใต้ถุน จนเห็นเป็นกุฏิเตี้ยเกือบติดดินเสียแล้ว)

ภาพท่ี่ ๑๗

(.........)

ภาพท่ี่ ๑๘

(ภาพที่ ๑๗ และ ๑๘ ,พระพุทธรูปและพระนอนภายในศาลารายรอบวิหารวัดกลาง)

ภาพท่ี่ ๑๙

(คลองเชิงแสหน้าวัดกลาง ถ่ายภาพจากจุดที่คลองบรรจบกับ "คลองพระ"เมื่อครั้งสมัยโบราณนานเน เห็น "คลองควายอ่าง" อยู่ไม่ไกล)

ภาพท่ี่ ๒๐

("ต้นเนียน" ต้นไม้ใหญ่ในวัดกลาง,เชิงแส ในภาพเห็นกำแพงวัดที่เหลือความสูงประมาณ ๑ ฟุต จากเดิมที่เคยสูงเกิน ๑ เมตร.)

ภาพท่ี่ ๒๑

(แนวกำแพงวัดกลาง ช่วงหนึ่งในหลายช่วงที่จารึกชื่อชาวไทรบุรีและจำนวนเงินที่ทำบุญก่อสร้างกำแพงวัด)

ภาพท่ี่ ๒๒

(.........)

ภาพท่ี่ ๒๓

(ภาพที่ ๒๒,๒๓ พุ่มผ้าป่าที่ศาลากลางป่าช้าบ้านเชิงแส วันนั้นสามัคคีร่วมบุญกันมากได้ปัจจัยมาทั้งสิ้น ๑,๓๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ได้ยินแต่เสียง"ครูภรณ์ ดวงจักร" ว่า สาธุ ๆ)

ภาพท่ี่ ๒๔

(ภาพสุดท้ายของวันกลับบ้านคราวนี้ เป็นภาพความงามของหมู่เมฆเหนือบ้านเชิงแส เมื่อเวลา ๑๗.๔๐ นาฬิกา ,ผมถ่ายภาพจากเครื่องบินขากลับกรุงเทพฯครับ)
     ผมกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว.....ปรากฏว่าขณะนี้ไม่ได้ยินเสียงเพลง "สู้เข้าไปอย่างได้ถอย..." เสียแล้วครับ ได้ยินแต่เสียงเพลง "หนักแผ่นดิน" ผมชอบใจวรรคหนึ่งของคำร้องบทเพลงนี้ที่ว่า "...คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชัน แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย..." ไม่น่าเชื่อนะครับว่า ในประเทศไทยของเราจะมีคนเช่นนี้อยู่ อยากจะเรียนว่าประเทศของเรานั้นร่มเย็นมาถึงทุกวันนี้ เราต้องระลึกถึงพระคุณของสองบรรพชน ๑.พระบารมีของบุรพมหากษัตริย์แต่โบราณ ที่ได้นำทัพรักษาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากศัตรู ทั้งศัตรูที่อยู่รอบบ้านและที่มาจากฝรั่งตะวันตก ๒.กลุ่มบรรพชนชาวไทยซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวนาชาวบ้านนี่แหละ ที่ได้ร่วมกันเป็นกองทัพตามเสด็จออกสู้ศึก เป็นกองทัพชาวนาจริงๆ บรรพบุรุษของเราเสียชีวิตเลือดเนื้อจนเรามีแผ่นดินอยู่ ให้ได้ทำมาหากิน , ให้ได้ทะเลาะฆ่าฟันโยนยิงระเบิดใส่กัน ,ให้ได้เรียกหาประชาธิปไตย ถ้าไม่มีแผ่นดินนี้ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถจะไปอาศัยแผ่นดินอื่นทะเลาะกันได้หรอก ,ตัวผมนั้นสอนและเตือนตัวเองอยู่เสมอให้ระลึกถึงบุญคุณของพระมหากษัตริย์ และบรรพชนคนไทย เพราะอะไร? ...ก็เพราะบรรพบุรุษฝ่ายแม่ของผมที่เชิงแส ทั้งก๋งซุนเฮาะ และ ก๋งเห้ง จีระโร ไม่ได้ร่วมสร้างและไม่ได้ร่วมรักษาแผ่นดินนี้ เพียงแต่มาอาศัยแผ่นดินนี้อยู่ และฝังร่างไว้ในแผ่นดินนี้ ก่อนที่จะฝังร่างไว้ในแผ่นดิน ก๋งของผมมีลูก มีหลาน และก็มีคนรุ่นเหลนอย่างผม ผมจึงระลึกเสมอว่าผมเป็นหนี้บุญคุณแผ่นดินไทยเป็นที่สุด ถ้าก๋งผมไม่ได้มาอาศัยแผ่นดินไทยอยู่ ผมก็ไม่สามารถเป็นคนไทยได้เลย ...ดังนั้นแผ่นดินไทยนี้มีบุญคุณเหนือหัวผม ทุกปีที่ผมและภรรยาเสียภาษีให้หลวงเป็นเงินรวม ๕๐๐,๐๐๐ บาท เศษ ผมน้ำตาไหลทุกครั้ง ไม่ใช่น้ำตาไหลเพราะเสียดายเงิน แต่น้ำตาไหลเพราะเป็นโอกาสดีที่ผมได้ทดแทนคุณแผ่นดิน.....+++....ผมไปดูงานที่ศาลฎีกาของประเทศนอรเวย์ และได้นั่งเรือกลับมาประเทศเดนมาร์ก ที่กรุงโคเปนเฮเกน มีสะพานหนึ่งชื่อว่า "สะพานแห่งพายุ" เป็นจุดที่ชาวเดนมาร์กเขาภูมิใจมาก เพราะเขาชนะศึกต่อกองทัพสวีเดนที่สะพานนี้ ทำให้เขารักษาเอกราชไว้ได้ ...นอกเวลาการศึกษาดูงานที่ศาลแล้ว ผมได้ตะลอนไปยังที่ซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จฯ เช่น ผมได้ไปถึงโรงแรมไฟลเซอร์ เมืองวอส นอรเวย์ ที่มีพระราชหัตถเลขาของพระองค์ท่านในสมุดของโรงแรมแห่งนี้ จึงได้ถ่ายภาพมา .,ได้ไปที่ลานสกีที่พระองค์เคยเสด็จฯ .,ที่เดนมาร์กผมได้ไปดูชานชลาสถานีรถไฟ และท่าเทียบเรือที่พระองค์เสด็จ วันสุดท้ายก่อนกลับประเทศไทย ผมได้ไปถ่ายภาพวาดของนายพลชาวเดนมาร์กที่เคยมารับราชการที่ประเทศไทย และร่วมกับชาวไทยสู้รบกับทหารของฝรั่งเศส ในคราวเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ นายทหารเรือเดนมาร์กท่านนี้ ท่านมีความรักในแผ่นดินไทยมาก และรัชกาลที่ ๕ ก็มีพระราชเมตตาจึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาชลยุทธโยธิน" ท่านมีนามว่่า "แอนเดรียส ดู เพลซี เดริเชลิเออ(Andreas du Plessis Richelieu เกิด ๒๔ ก.พ. ๑๘๕๒ อนิจกรรม ๒๕ มี.ค. ๑๙๓๒ ,อายุ ๘๐ ปี) ...ชาวไทยที่เป็นคนจิตปกติหากได้ทราบวีรกรรมของพระยาชลยุทธฯ ที่ประกอบไว้ให้แผ่นดินไทยแล้ว จะต้องมีความเห็นว่าเราคนไทยยุคนี้ หากไม่มีเวลาที่จะสร้างความดีไว้ในแผ่นดิน ก็ต้องไม่เป็นคนหนักแผ่นดิน ....รายละเอียดและภาพที่เก็บมาจากยุโรปผมจะค่อยทยอยเล่าไปเรื่อยๆ นะครับ........ตอนนี้ขอไปฟังเพลง "หนักแผ่นดิน" เพื่อเตือนใจตัวเองก่อน/



วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๐ สืบสานงานศิลป์บรรพชนคนเชิงแส


บทที่ ๑๐ สืบสานงานศิลป์บรรพชนคนเชิงแส


     ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วจนกระทั่งถึงวันมาฆะบูชาแห่งปีนี้ ผมและทายาทของบรรพชนชาวเชิงแส ๒ ท่าน ได้ปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่องในการที่จะอนุรักษ์และบูรณะอาคารซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของบ้านเชิงแสไว้ สิ่งนั้นก็คือ การอนุรักษ์และบูรณะพระอุโบสถของวัดเชิงแสใต้ หรือวัดหัวนอน และการอนุรักษ์อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนวัดเชิงแส(เมฆประดิษฐ์) ทายาทของชาวเชิงแสทั้งสองท่านนั้นเป็นคนในสกุล "บุญญภัทโร" ท่านแรกเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ท่านชื่อ "นิพนธ์ บุญญภัทโร" ผมเรียกท่านว่าพี่นิพนธ์บ้าง ท่านผู้ว่านิพนธ์บ้าง ส่วนท่านที่สองนั้นปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมศิลปากร ท่านมีนามกรว่า "อนันต์ ชูโชติ" ผมเรียกท่านว่าพี่นันต์ ทั้งท่านผู้ว่านิพนธ์และท่านรองอธิบดีอนันต์ต่างมีบรรพบุรุษรุ่นปู่ย่าเป็นชาวเชิงแสบ้านหัวนอน กล่าวคือ ปู่ของท่านผู้ว่ามีลูกหลายคน ลูกชายคนโตเป็นกำนันคนแรกของตำบลเชิงแส ชื่อว่า "กำนันอั้น" น้องของกำนันอั้นคือท่านขุนรัตนารักษ์เป็นคุณพ่อท่านผู้ว่านิพนธ์ และน้องกำนันอีกคนหนึ่งคือคุณแม่ของท่านรองอนันต์ ท่านผู้ที่มีนามสกุลว่า "ชูโชติ" นี้ผมเคยกล่าวไว้ในบทก่อนๆแล้ว ว่า ครูของผมคนหนึ่งเป็นชาวบ้านเขารัดปูน ชื่อ "กิตติพันธ์ หรือ ก้าน ชูโชติ" ครูก้านของโรงเรียนวัดเชิงแสนั้นท่านเป็นบุตรของคุณปู่แดง ชูโชติ และครูก้านก็เป็นน้องชายของคุณพ่อรองอธิบดีอนันต์ ชูโชติ ...เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๑๘ คุณปู่แดงได้มอบตู้เหล็ก ๑ ใบ ราคา ๑,๐๐๐ บาท และมอบชุดรับแขก ๑ ชุดราคา ๑,๒๐๐ บาท ให้แก่โรงเรียนวัดเชิงแส(เมฆประดิษฐ์)ท่านผู้ว่านิพนธ์เล่าผมว่าขณะนี้ที่บ้านเชิงแสยังมีญาติของท่านอีกหลายคน เช่น น้าหนูแนม พรหมมา (ภรรยาน้าจวน)ที่เพิ่งเสียไปก็เป็นญาติของท่านผู้ว่านิพนธ์ ท่านผู้ว่านิพนธ์โทรศัพท์มาเล่าผมว่า "ผมเพิ่งคุยกับน้องนิกรเรื่องวัดเชิงแสใต้ แล้วโทรไปหาญาติที่หาดใหญ่เพื่อจะพูดคุยกันถึงวัดเชิงแสใต้ ญาติผมบอกว่าเขากำลังเดินทางไปงานศพน้องแนมที่วัดเชิงแสใต้ ผมรู้สึกเป็นอัศจรรย์มากที่เดียวเกี่ยวกับวัดเชิงแสใต้นี้...น้องหนูแนมเป็นญาติกับผม เธอเป็นลูกน้าลั่นและเป็นหลานปู่ของน้าเลี่ยง...ผมถามญาติก็ทราบว่ากระดูกปู่กระดูกย่าของผม ก็น่าจะอยู่ที่วัดเชิงแสใต้นั่นแหละ"...ท่านผู้ว่านิพนธ์เล่าเรื่องบรรพบุรุษและเรื่องญาติของท่านให้ผมฟังอย่างพรั่งพรู แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างท่านกับบ้านเชิงแสซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดบรรพบุรุษของท่าน...เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างที่ผมขับรถไปรับลูกสาวที่โรงเรียนพี่อนันต์ท่านรองอธิบดีกรมศิลปากรโทรศัพท์มาบอกผมว่า "อีกไม่นานผมจะไปที่วัดเชิงแสใต้ จะไปดูโบสถ์ ลูกน้องได้รายงานมาให้ทราบแล้วว่า งานศิลปะที่หน้าจั่วทั้งข้างหน้าและข้างหลังยังสมบูรณ์อยู่มาก และเขารายงานด้วยว่าภาพปูนปั้นที่หน้าจั่วด้านหน้าก็ไม่เหมือนด้านหลัง"


(อุโบสถของวัดเชิงแสใต้ที่อาจจะได้รับการบูรณะจากโครงการของกรมศิลปากร)

     ความสนใจของอนุชนทั้งสองท่านซึ่งเป็นลูกหลานของชาวเชิงแสในเรื่องที่จะมีการบูรณะพระอุโบสถวัดหัวนอนของเรานั้น นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง...และผมได้กราบนมัสการให้หลวงพี่พระปลัดปรีชา ธัมมปาโล ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงแสใต้ทราบแล้ว และก่อนที่คณะของรองอธิบดีกรมศิลปากรจะไปที่วัดเชิงแสใต้ ผมกับหลวงพี่ปรีชาก็ตกลงกันว่าขณะนี้ที่วัดเชิงแสใต้ยังมีอาคารสำคัญอยู่อีก ๒ อาคาร คือ อาคารโรงธรรม และ หอประดิษฐานรูปเหมือนพ่อท่านเมฆวาจาสิทธิ์ จึงจะว่าจ้างให้ช่างทำป้ายชื่อสิ่งปลูกสร้างทั้งสองนี้เสีย โดย โรงธรรมนั้น เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่พ่อท่านทองมากหรือพ่อท่านเฒ่า จึงตั้งชื่อโรงธรรมนี้ว่า "โรงธรรมเจดีย์ศรีสังวร" อันเป็นการนำเชิญสมณนามของท่านที่ว่า "พระครูธรรมเจดีย์ศรีสังวร" มาเป็นชื่อโรงธรรม ส่วนหอประดิษฐานรูปเหมือนพ่อท่านเมฆ นั้น ตั้งชื่อว่า "หอเมฆสถิตอนุสสร" เพราะเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนพ่อท่านเมฆวาจาสิทธิ์นั่นเอง คำว่าอนุสสสรเป็นคำเก่า ผมว่าดูดีกว่าคำว่าอนุสรณ์ที่เป็นคำใหม่...อย่างไรก็ตามท่านใดเห็นว่าจะตั้งชื่ออื่นที่เหมาะสมกว่านี้ ก็กรุณาเสนอความเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ครับ เพราะเป็นเรื่องของส่วนรวม เมื่อวาระที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระชันษา ๑๐๐ ปี ศาลยุติธรรมจัดทำหนังสือประชุมพระนิพนธ์ เป็นที่ระลึก ผมได้รับมอบหมายให้ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ ผมจึงตั้งชื่อว่า "เจริญธรรม ญาณสังวร" โดยนำพระนามเดิมของพระองค์ที่ว่า "เจริญ" มาตั้งเป็นชื่อนำ ก่อนที่ตามด้วยราชทินนาม ปรากฏว่าคณะกรรมการของศาลมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นชื่อที่เหมาะสม เด็กเชิงแสอย่างผมก็เลยได้หน้ามาเล็กน้อย...เลยนำมาคุยในเรื่องเชิงแสบ้านแม่ฯ เสียใหญ่โต........++๐๐++...ต่อไปผมจะกล่าวถึงประวัติการสร้างพระอุโบสถวัดเชิงแสใต้ เป็นการเล่าในลักษณะนิทานอิงประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ุ ดังนั้นเรื่องที่เล่าจึงเจือจิตนาการผสมผสานอยู่ด้วย และเรื่องที่จะเล่านี้มาจากแรงบันดาลใจจากการข้อมูลที่ผมทราบมาจากพระอาจารย์พระมหานุ่ม แห่งวัดสร้อยทอง ว่า "ช่างที่สร้างโบสถ์วัดหัวนอนนั้น ชื่อว่า ช่างหลง เป็นคนบ้านโตนดด้วน สร้่างในสมัยพ่อท่านเมฆ"

     ลมยามบ่ายพัดวุ้งๆ ที่ทุ่งนาป่าตาลด้านทิศตะวันออกของหัวสะพานยาว ลมโชยกลิ่นน้ำสะอาดใสจากเวิ้งคลองเชิงแสจุดที่บรรจบกับคลองพระเดิมให้ความสดชื่นเย็น เสียงนาคหนุ่มหลายสิบคน ที่กำลังท่องคำขานนาคดังแว่วมาจากโรงธรรม ณ เขตวัดหัวนอนที่บริเวณริมคลองด้านทิศตะวันออก พ่อท่านเมฆสังฆาธิการของอารามเก่าแก่แห่งบ้านเชิงแส เดินสำรวจพื้นที่อย่างครุ่นคิด ท่านกังวลว่าอุโบสถหลังเดิมที่ก่อสร้างมานานนับร้อยปี เริ่มจะทรุดโทรมลงไปมาก หากจะบูรณะซ่อมแซมใหม่ ด้วยบารมีของท่านในเวลานี้ ไม่เป็นการยากลำบากแต่อย่างใด เพียงติดปัญหาสำคัญแต่ว่า ภูมิสถานที่ตั้งของพระอุโบสถแห่งนั้นเป็นที่ลุ่ม เมื่อจะสร้างใหม่เป็นถาวรวัตถุสืบพระศาสนา ก็ควรที่จะสร้างในพื้นที่ที่สูงกว่าเดิม ทั้งเหตุการณ์บ้านเมืองช่วงนี้ สงครามโลกครั้งที่สองก็ยุติแล้ว การทำงานในยามย่ำยามคืนย่อมปลอดภัย ไม่ต้องหวั่นเกรงว่าจะมีแสงไฟให้เครื่องบินมาทิ้งระเบิดอย่างที่ชาวบ้านล่ำลือและกลัวกันนักหนา ว่าจะเป็นเหมือนเช่นในเมืองสงขลา ทั้งที่ความจริงแล้วคงไม่เป็นเช่นนั้นแน่ ที่สำคัญหากการก่อสร้างเริ่มเสียในช่วงเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ ที่วัดวาจะมีกำลังงานของพระและผู้คนมาก พระนั้นแต่ละปีจำพรรษาที่วัดหัวนอนถึง ๕๐,๖๐ รูป มิเคยขาด อีกทั้งชาวบ้านเชิงแสทั้งคนไทยคนจีนก็มีมาก การสำคัญเช่นนี้มีทางที่จะสำเร็จได้ไม่ยาก...เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ได้เบื้องต้นแล้ว เพื่อความรอบคอบในงานพ่อท่านก็ตกลงใจว่าจะต้องปรึกษา "หลวงพี่" ที่วัดกลาง และ วัดเอก หลวงพี่ทั้งสองของพ่อท่านนั้นคือ พ่อท่านเขียวแห่งวัดกลาง และพ่อท่านเจียมแห่งวัดเอก นั่นเอง


(ภาพถ่ายพระอธิการเมฆ ติสสโร ซึ่งอยู่ภายในหอเมฆสถิตอนุสสร วัดเชิงแสใต้)


(ตึกสามชั้นของร้านบ้วนเฮงที่ถนนนครใน จังหวัดสงขลาซึ่งถูกระเบิดเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒,ภาพถ่ายโดยเอนก นาวิกมูล)

     พ่อท่านเมฆพร้อมด้วยพ่อท่านคงสองพระเถระเดินเท้าตามสะพานข้ามคลองเชิงแสตรงที่เรียกว่า "คลองควายอ่าง" มาถึงเขตของวัดกลาง ท่านทั้งสองไม่ได้ตรงไปที่กุฏิของพ่อท่านเขียวหรอก ด้วยท่านทราบเป็นอย่างดีว่าในเวลาเย็นนั้น พ่อท่านเขียวกำลังเดินดูสมุนไพรนานับชนิดที่แปลงปลูกภายในวัด นับตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือที่ในแถบประเทศเราเรียกว่า "สงครามมหาอาเชียบูรพา" นั้นหยูกยาหายากมาก เพราะเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงจากสงคราม แม้แต่ในเมืองสงงขลาก็ยังหายายาก เพราะเป็นจังหวัดที่ "ญี่ปุ่นขึ้น" คือกองทัพญี่ปุ่นบุกและตั้งกองกำลังอยู่ประจำการ พ่อท่านเขียวจึงต้องรับภาระในการปรุงยาหลายขนาน เนื่องเพราะพ่อท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่เจ็บไข้ได้ป่วย ....ครั้นพ่อท่านเมฆและพ่อท่านคงมาถึงในระยะใกล้แล้ว ก็กล่าวขึ้นว่า "หลวงพี่" พ่อท่านเขียวหันมามองพระเถระรุ่นน้องด้วยความแปลกใจพลางกล่าวรับว่า "น้องหลวงพระครูมาเงียบๆ ไม่รู้ตัวเลย นิมนต์ที่กุฏิเถอะ" เมื่อพ่อท่านเขียวนั่งบนอาสนะที่ประจำแล้ว พ่อท่านเมฆและพ่อท่านคงต่างกราบแสดงความเคารพ..."น้องหลวงพระครูมีเรื่องไหรเหอ ถึงได้มาพร้อมกัน" ..."ผมคิดจะสร้างโบสถ์ใหม่จึงใคร่ปรึกษาหลวงพี่" พ่อท่านเมฆเริ่มข้อหารือ และบอกเล่าถึงแนวดำริว่า ตำแหน่งที่ตั้งพระอุโบสถใหม่นั้นท่านจะตั้งทางทิศเหนือของอุโบสถเก่า แต่พื้นที่ตรงนั้นเป็นบริเวณริมเวิ้งชายคลอง จำเป็นต้องถมดินให้สูงขึ้น ท่านตั้งใจว่าจะขุดสระขึ้นที่ด้านตะวันออกของพระอุโบสถเดิม ซึ่งจะได้ประโยชน์ ๒ ทาง กล่าวคือ ได้สระเก็บน้ำเพิ่มขึ้น และได้ดินมาถมที่ซึ่งจะก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ..."เป็นความคิดที่ดีมาก"..พ่อท่านเขียวเห็นด้วยอย่างชื่นชมแล้วจึงไต่ถามเรื่องไม้ที่จะใช้ก่อสร้าง พ่อท่านเมฆกราบเรียนว่า ..."ไม้นั้นผมตั้งใจว่าจะนำมาใช้เฉพาะเครื่องบนกับประตูหน้าต่าง ด้วยว่าพื้นและผนังตั้งใจว่าจะก่ออิฐถือปูน แต่ไม้ใหญ่ที่เขารัดปูนและที่เกาะใหญ่คงไม่มีที่เหมาะ ผมตั้งใจว่าจะนำชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาไปขออนุญาตทางการตัดไม้ที่พัทลุง"...เมื่อพ่อท่านเขียวได้ยินเช่นนั้นก็ให้รู้สึกเป็นกังวล ท่านจึงท้วงว่า "หลวงพี่ให้รู้สึกเป็นห่วง ถ้าน้องหลวงพระครูต้องไปเองแล้ว หลวงพี่กลัวเรื่องไข้ป่า เพราะเวลานี้หยูกยาหายาก"
     พ่อท่านเมฆและพ่อท่านคงสองพระเถระใหญ่ของวัดเชิงแสใต้รับมนัสการความคิดเห็นจากพ่อท่านเขียวแล้ว ก็กราบลาเดินตามคันนามุ่งสู่วัดเอกซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ...ณ เวลานั้น "วัดเอก" หรือที่มีชื่อเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนปี พ.ศ. ๒๒๒๓ เรียกว่า "วัดเชิงแสะพระครูเอก" มีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส คือ "พ่อท่านเจียม" พ่อท่านเจียมเป็นพระที่ได้รับการยกย่องทางด้านความมีเมตตากรุณา ท่านนำพาวัดเอกและหมู่สงฆ์ไปในทิศทางของการสงเคราะห์ เป็นที่ทราบทั่วกันว่าในบรรดาวัดแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกนั้น "ขนมเดือนสิบของวัดเอกจะหมดก่อนวัดอื่น" ทั้งนี้เพราะพ่อท่านเจียมมีจิตเอื้อเฟื้อต่อชาวบ้านเป็นอย่างสูง ทุกๆเที่ยงวันหลังเพลแล้วจึงมีผู้คนมาทานข้าวปลาอาหารและขนมต่างๆที่วัดเอกเป็นจำนวนมาก ...ยามนั้น พ่อท่านเจียมกำลังดูแลการทำความสะอาดพระอุโบสถของวัดเอกอยู่ เพราะใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว นาคหนุ่มทั่วสารทิศจะต้องมาบวชพระต่อหน้า "หลวงพ่อเดิม" ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถแห่งนี้...พ่อท่านเมฆและพ่อท่านคงเข้ากราบนมัสการพ่อท่านเจียมแล้วก็นมัสการหารือสังฆกิจการก่อสร้างพระอุโบสถ ท่านอธิบายรายละเอียดทั้งหมดแล้ว พ่อท่านเจียมจึงเอ่ยถามว่า "น้องหลวงทั้งสองจะให้ช่างบ้านไหนมาเป็นแม่งานก่อสร้างฤา?" พ่อท่านเมฆกราบอธิบายว่า "งานนี้เป็นงานใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ปี กระผมตั้งใจจะให้ "ช่างหลงแห่งบ้านโตนดด้วน" เป็นแม่งาน โดยมีโยมพี่ปู ปูขะโร และ โยมย้อย เอกกุล คอยช่วยเหลือ " เมื่ิอฟังคำของพ่อท่านเมฆเช่นนั้นแล้ว พ่อท่านแห่งวัดเอกก็กล่าวอนุโมทนาและกล่าวด้วยจิตเมตตาสงเคราะห์ว่า "หากขาดเหลือสิ่งใดแล้วให้บอกเถิด หลวงพี่พร้อมช่วยเหลือทุกอย่าง นานมาแล้วที่บ้านเชิงแสไม่ได้สร้างสังฆววัตถุขนาดใหญ่เช่นนี้ ขอบารมีของพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นภวปัจจัยให้งานนี้สำเร็จเถิด" แล้วสุปฏิบันโนทั้งสามก็กราบลงที่หน้าหลวงพ่อเดิม
     เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว คืนนั้นพ่อท่านเมฆได้เรียกเด็กวัดก้นกุฏิให้มาพบ "สังแหย้วเอ้ย คางคูดเอ้ย อยู่ที่ไน่ มานี่ที" สองศิษย์วัดได้ยินเสียงพ่อท่าน ก็รีบคลานตามพื้นกระเบื้องแดงเข้ามาหาพ่อท่าน กราบนมัสการแล้วนั่งนิ่งอยู่ พ่อท่านจึงสั่งว่า "ต่อเช้า ให้ทั้งสองคน ลงไปเก็บกระจับที่ในสระรักษ์มาคนละหอบ จะเอามาทำยา" สังแหย้วและคางคูดสองเพื่อนเกลอรับคำสั่งแล้ว ได้มานั่งปรึกษากัน สังแหย้วกังวลว่า หากลงไปในสระพร้อมกันแล้ว จะไม่มีใครเฝ้ากางเกงที่ถอดวางไว้ที่ขอบสระ คางคูดเสนอว่าให้สลับกันลงสระที่ละคน คางคูดว่า "พันนี้หวา ที่แรกให้สังแหย้วลงสระ เราเฝ้ากางเกง ทีที่สองผลัดกัน ให้เราเฝ้ากางเกง สังแหย้วลงสระ เอาไม่?" สังแหย้วคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า "ผลัดกันลงสระแบบนี้ ดีเหมือนกัน คางคูดไอ้เกลอเราฉลาดจริงๆ"
     ด้วยอำนาจของกุศลจิต ข่าวที่พ่อท่านมีดำริจะสร้างอุโบสถใหม่ของวัดหัวนอน จึงแพร่สะพัดไปทั่วบ้านเชิงแสภายในเวลาเพียงวันเดียว เย็นวันนี้ขณะที่พ่อท่านกำลังต้มต้นกระจับกับเครื่องยาอยู่นั้น ท่านขุนอารักษ์เชิงแสกำนันตำบลเชิงแสก็เข้ามากราบนมัสการอาสารวบรวมกำลังคนช่วยลงแรงในการก่อสร้าง "ผมทราบข่าวนี้แล้ว ยินดีจัดชาวบ้านมาช่วยงานพ่อท่านทั้งกลางวันและกลางคืน ทุกวันจะจัดเวรหมุนเวียนข้าวหม้อแกงหม้อมาให้ชาวบ้าน จะไม่ให้บกพร่องครับ" ท่านขุนกำนันกราบเรียนพ่อท่าน ครั้นเมื่อได้ฟังคำของกำนันแล้ว พ่อท่านเมฆจึงกล่าวว่า "ต้องขอแรงกำนันไปช่วยตามช่างหลงมาให้ที จะได้วางแผนเขียนแบบโบสถ์" ...การออกแบบพระอุโบสถกินเวลานานจนถึงเดือนแรกของพรรษา แต่ระหว่างนั้นทุกๆวันและทุกคืนชาวบ้านเชิงแสและลูกศิษย์ของพ่อท่านทั้งใกล้ไกล ต่างได้ร่วมกันขุดขนดินมาถมเป็นลานเตรียมการสร้างอุโบสถ บริเวณที่ดินยุบแน่นแล้วช่างหลงสั่งการให้วางผังและขุดหลุมลึกเทียมหัวเป็นที่ก่อฐานราก ลูกศิษย์จากเขารัดปูนต่างก็นำก้อนหินบรรทุกเรือมาตามลำคลอง นำมาใช้ในการก่อสร้าง...และคืนวันพระสำคัญก็มาถึง พ่อท่านประชุมชาวบ้านเพื่อกำหนดการออกเรือไปตัดไม้ที่เมืองพัทลุง...วันที่เรือใบออกจากท่าคลองควายอ่างบ้านเชิงแสมีผู้คนมาร่วมส่งเป็นจำนวนมาก พ่อท่านทั้งสามวัดร่วมกันประพรมน้ำมนต์ สังแหย้วและคางคูดร่วมเดินทางไปด้วย ทั้งสองคนมีหน้าที่รักษาหม้อยาของพ่อท่าน...ประมาณ ๑ เดือนแผ่นไม้สำหรับใช้สร้างบานประตูและหน้าต่างพระอุโบสถก็บรรทุกแพลูกบวบมาถึงวัดเชิงแสใต้ หลังจากนั้นอีกสองเดือนไม้ขื่อ ไม้คานเครื่องบนก็มาถึง แต่น่าเสียดายว่าไม้เครื่องบนนั้นสั้นไปหน่อยหนึ่ง ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้วพ่อท่านและชาวบ้านจำนวนหนึ่งร่วมเป็นคณะไปตัดไม้ที่เมืองพัทลุง...+++..พ่อท่านเมฆจากวัดเชิงแสใต้ไปคราวนี้ ท่านเข้าป่าในช่วงหน้าฝน พ่อท่านจึงเป็นไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า คณะลูกศิษย์จึงนำพ่อท่านไปรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลสงขลา แต่อาการของพ่อท่านรุนแรง ให้เจ็บป่วยอย่างรวดเร็วจนเกินที่จะเยียวยาได้...และพ่อท่านถึงแก่มรณภาพละสังขารลงที่เมืองสงขลา ในปี ๒๔๙๑...วาระที่นำศพพ่อท่านมาถึงบ้านเชิงแสนั้น แม่เล่าให้ผมฟังว่า ชาวเชิงแสเศร้าโศกสลดกันทั้งบ้าน...เนื่องเพราะ..."ต้นโพธิ์ใหญ่แห่งบ้านเชิงแสล้มเสียแล้ว"...แม่เล่าผมอย่างนั้น
     ภายใต้การนำของช่างหลง งานศิลป์ด้านสถาปัตยกรรมของบรรพชนคนเชิงแสดำเนินต่อไปอย่างมั่นคงในเจตนารมณ์ของพ่อท่านเมฆแห่งวัดเชิงแสใต้ จนงานลุล่วงสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ความงามที่พึงกล่าวถึงอย่างยิ่งมี ๒ อย่าง คือ ศิลปะปูนปั้นพระอิศวรทรงช้างเอราวัณอันงดงามที่หน้าบันของอุโบสถ และงานประดับกระเบื้องเคลือบที่สวยงามที่พื้นภายในพระอุโบสถ แม้กาลเวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว แต่ความงามของงานศิลปะดังกล่าวก็ยังคงอยู่
     ผมกล่าวถึงงานศิลปะของชาวเชิงแสเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้ว ต่อไปจะกล่าวถึงด้านวรรณกรรม ซึ่งอันที่จริงก็ได้เขียนเนื้อหาไว้แล้วในบท "เชิงศิลป์ เชิงกวี ที่เชิงแส" ดังนั้น บทนี้จึงนำภาพมาให้ชม และจะอธิบายประกอบภาพแทนการบรรยายเรื่องราว ภาพที่จะนำมาให้ชมนั้นประกอบด้วย ๑.ภาพหนังสือบุดเรื่องสินนุราชคำกาพย์ ๒.ภาพหนังสือบุดเรื่องโสนน้อย และ ๓.ภาพหนังสือบุดเรื่องมโหสถ ซึ่งวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้นเป็นภูมิปัญญาทางวรรณกรรมของชาวเชิงแส ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดหัวนอนหรือวัดเชิงแสใต้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

(หนังสือบุดขาวเรื่อง "สินนุราชคำกาพย์" ฉบับวัดเชิงแสใต้ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓)

(หน้าปลายของสินนุราชคำกาพย์ ผู้แต่งขอให้ผู้ที่อ่านหนังสืออย่าทำให้หนังสือเสียหาย)

(เนื้อเรื่องของสินนุราชคำกาพย์)

(หนังสือบุดขาวเรื่องพระมโหสถฉบับวัดเชิงแสใต้)

     ขณะนี้ผมพบข้อเขียนเรื่องราวพ่อท่านเมฆวาจาสิทธิ์เรื่องหนึ่ง ผู้เขียนเรื่องนี้ คือ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิต ประเภทประวัติศาสตร์ และเป็นชาวระโนดคนแรกที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา ท่านคือ ราชบัณฑิตณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ท่านณัฐวุฒิเกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๖๑ ที่ริมคลองบ้านน้ำโอ ตำบลโรง ท่านเป็นบุตรของคุณปู่รัง เกื้อหนุน และคุณย่าสาย สุทธิสงคราม ราชบัณฑิตณัฐวุฒิบันทึกไว้ในหนังสือ "ระโนดสังสรรค์" ว่า..."ตำบลเชิงแสนั้นเป็นตำบลใหญ่ คำว่าเชิงแสแปลว่าอะไรยากที่จะแปล มีคำเขมรปนเข้ามา คำว่า "เชิง" ภาษาเขมรแปลว่า เท้า หรือ ตีน ส่วนคำว่า "แส" แปลว่า สะสางที่นาหรือที่ดิน ที่ตำบลนี้มีคนจีนมาตั้งรกรากอยู่ก่อนตั้งกิ่งอำเภอระโนด ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคนจีนมาตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลเชิงแสนี้คงจะเป็นในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ...อนึ่ง,ตำบลเชิงแสเป็นตำบลใหญ่ มีประชากรหนาแน่น เป็นแหล่งแห่งความเจริญของบ้านเมือง เคยมีกำนันเป็น "ขุนอารักษ์เชิงแส" คล้องจองกับ ขุนสุนทรวัดสน ขุนชุมพลพิทักษ์ แล้วจึงมาถึง ขุนอารักษ์เชิงแส ข้าพเจ้าเรียนหนังสือชั้นประถมที่วัดโรง แต่เวลาสอบไล่ ต้องเดินทางไปสอบไล่ที่โรงเรียนประชาบาลที่วัดเชิงแสทุกปี ต้องเดินทางไปนอนค้างอ้างแรมอยู่ที่วัดเชิงแสใต้ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านพุทธศาสนา ที่บ้านของข้าพเจ้าที่กรุงเทพมหานครเวลานี้ มีอัฐิของพ่อท่านเมฆ วัดเชิงแส และอัฐิพ่อท่านยอด วัดโรง ไว้สักการะบูชา เพราะท่านเกี่ยวกับการสอบและการอุปสมบทของข้าพเจ้า..."
     (อนึ่ง ท่านที่สนใจเรื่องราวของ ฮีโร่ ทั้งหลาย เช่น ฮีโร่ป๊อบคอร์น นั้น ใคร่แจ้งให้ทราบว่า ที่บ้านเชิงแสบ้านเกิดผม มีฮีโร่เกิดขึ้นนานแล้ว ในนามของ "ฮีโร่ก๋งสุย" ซึ่งสร้างวีรกรรมได้อย่างห้าวหาญ และหวาดเสียวกว่าทุกฮีโร่ สนใจเรื่องนี้ให้เปิดไปอ่านที่ท้ายบทที่ ๗ เสือลาทุ่ง...)