วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บทที่ ๑๔ จีนเชิงแส

บทที่  ๑๔  จีนเชิงแส......๐๐๐๐๐๐๐..............................................................................................................................................................................................+++++++++++
         บ้านเชิงแสเป็นชุมชนโบราณมานานกว่า  ๔๐๐ ปี แล้ว คำว่า "เชิงแส" มาจากภาษาขอมดั้งเดิม ในสมัยอยุธยาเขียนโดยใช้อักขระว่า "บารเชิงแสะ"  อ่านว่า " บ้านเชิงแส ".  ซึ่งแปลว่า "นาส่วนข้างล่าง" หรือ "บ้านปลายนา" ...เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว...ชาวจีนมาอยู่ที่เชิงแสเมื่อใด?............๐๐๐๐๐๐๐๐..............................................................................................................................................................................................++++++++++
            บทนี้ผมจะกล่าวถึง "จีนเชิงแส"  ซึ่งกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้  เป็นบรรพบุรุษของชาวเชิงแสในปัจจุบันนับแล้วได้เป็นพันๆคน. จีนคนแรกเดินทางมาถึงเชิงแสในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ . ต่อมาได้มีชาวจีนเดินทางมาตั้งบ้านเรือนที่เชิงแสอย่างต่อเนื่อง. คนจีนที่มาอยู่ที่เชิงแสนั้น ไม่ได้มุ่งตรงมาเลยทีเดียว ส่วนใหญ่เป็นการเดินทางช่วงที่ ๒  คือ ได้มาอยู่ที่ตำบลอื่นก่อน แล้วต่อมาจึงมาอยู่ที่เชิงแส. ยกตัวอย่าง เช่น "จีนซุนเฮาะ" ทวดของผม เดินทางมาเมืองไทยพร้อมกับน้องชายคนหนึ่ง ชื่อว่า "จีนผ้อง". เมื่อมาถึงแผ่นดินไทย จีนซุนเฮาะและจีนผ้องสองพี่น้องได้พักอาศัยอยู่ที่ตำบลระวะก่อน แล้วเฉพาะจีนซุนเฮาะผู้พี่ จึงเดินทางต่อมาที่บ้านเชิงแส. ซึ่งขณะนั้นได้มีคนจีนอาศัยอยู่บ้างแล้ว เช่น เตี่ยของแปะล่อง บ้านตั้งอยู่ใกล้วัดเอก , ....+++...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องถึงรัชมัยต่อมา มีชาวจีนมาอาศัยอยู่ที่เชิงแส ดังนี้...... "ก๋งเซ่งคุ่น"  ,  "ก๋งยี่เซ่ง"  ,  "ก๋งซุนเฮาะ" ,   "ก๋งจิ้ว" ,   "ก๋งเม้งกี่  แซ่ออง"  ,  "ก๋งเอี่ยม"  ,  "ก๋งสุย"  ,   "ก๋งหลีย่อง"  ,  "ก๋งกู้เซ่ง"  ,  "ก๋งฉาวเท่า"  , "ก๋งกี่เตียง"  , "ก๋งกี่โถ"  , "ก๋งกี่เท่า" , "ก๋งนอง" , "ก๋งโหย แซ่อุ่ย" ...นอกจากนั้นยังมีคนจีนที่ผมไม่ทราบชื่อแต่ทราบสายสกุลลูกหลาน เช่น ทวดของน้าแอบ ชัยเชื้อ ก็เป็นคนจีน. ต้นสกุลนิลวงศ์พ่อของกำนันฉิ้น ก็เป็นคนจีน . ศพคนจีนซึ่งตั้งอยู่ที่เนินดินนาของลุงอิ่มป้าเป้า ก็เป็นจีนแน่นอน.  ชาวจีนเชิงแสจึงมีอยู่มาก มากมานานแล้ว ทำให้เข้าใจผิดไปว่าชื่อบ้านของแม่มาจากคำว่า ซินแส  ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย... เชิงแส ไม่ได้มาจาก ซินแส แต่อย่างใดทั้งสิ้น...........๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐................................................................................................................................................................................+++++++
           ขณะนี้ผมได้เตรียมที่ดินได้แปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ตั้งอยู่ที่สวนตีนที่ "หนองไอ้เสือ" ใกล้กับเลียบหัวโจรซึ่งเป็นที่ฝังศพก๋งของผม  ผมตั้งใจว่าในชีวิตของผม ผมจะสร้าง  "สุสานจีนเชิงแส"  ขึ้นให้ได้ . ,ผมขอเล่าประวัติที่ดินแปลงนี้เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงพระคุณของเจ้าของที่ดินเดิม. ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นของ "ทวดขวัญแก้ว" ทวดชายท่านนี้มีที่ดินอยู่พอสมควร แต่ทวดไม่มีบุตร ครั้นชราเจ็บป่วยลง ได้มีบุคคลสองคนไปช่วยดูแลปรนนิบัติ บุคคลทั้งสองนั้น คือ "ก๋งผอม" ลูกชายของก๋งซุนเฮาะ กับ "คุณตายน"  ทวดขวัญแก้วจึงยกที่ดินประมาณ ๔ ไร่ให่ก๋งผอมและคุณตายนได้แบ่งกัน ... เมื่อก๋งซุนเฮาะเสีย ก๋งผอมจึงใช้ดินส่วนที่ได้แบ่งมานี้เป็นที่ฝังศพก๋งซุนเฮาะซึ่งเป็นบิดา...............................๐๐๐๐๐๐๐๐...............................................................................................................................................................................................+++++++
          คนจีนรุ่นแรกๆ ที่มาอยู่ในบ้านเชิงแสได้สืบทอดธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลไว้ที่เชิงแสหลายอย่าง. เช่น ภาษา , อาหาร , ประเพณีไหว้บรรพบุรุษ , เมื่อได้มาตั้งรากฐานที่แผ่นดินใหม่แล้ว ชาวจีนเหล่านี้ได้แต่งงานกับคนไทยสืบเชื้อสายเผ่าพันธ์ุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน บุคคลสำคัญแห่งบ้่านเชิงแสที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนท่านแรกที่ผมจะเล่าถึง คือ ..." พระราชปริยัติโกศล ( เสถียร  ฉันทโก  ป.ธ. ๙ ) "  เจ้าอาวาสวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ ......๐๐๐๐๐๐๐๐๐.............................................................................................................................................................................................+++++++++
            ท่านเจ้าคุณเสถียรเล่าให้ผมฟังว่า  " เราเป็นคนบ้านเชิงแส  เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐  มีโยมก๋งสุยเป็นปู่ และก็มีโยมเตี่ยจูห้องเป็นพ่อ. เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดเชิงแสของพระอาจารย์เมฆ เมื่อครบบวชแล้วท่านเป็นพระอุปปัชฌาย์บวชให้. บวชแล้วได้มาพักที่วัดกลางกับพระอาจารย์เขียว......+++